เมนู

พระศาสดามาก เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว
ปลงภาระหนักลงได้เเล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ
แล้ว ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
นี้เป็นอนุสาสนีของเรา เราพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว
จักปรินิพพาน.

จบสารีปุตตเถรคาถา

อรรถกถาสาริปุตตเถรคาถาที่ 2

1

คาถาของ ท่านพระสาริปุตตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ยถาจารี ยถา-
สโต
ดังนี้, ก็เรื่องของท่านพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น บัณฑิตพึง
ทราบอย่างนี้แล.
ในอดีตกาล ในที่สุดแห่งอสงไขยกำไรแสนกัป แต่กัปนี้ไป ท่าน
พระสารีบุตรบังเกิดแล้วในตระกูลพราหมณ์มหาศาล โดยมีชื่อว่า สรท-
มาณพ.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะ บังเกิดแล้วในตระกูลคฤหบดีมหา-
ศาล โดยมีชื่อว่า สิริวัฑฒกุมฎุพี. คนทั้งสองนั้นได้เป็นสหายร่วมเล่น
ฝุ่นด้วยกัน.
ในบรรดาคน 2 คนนั้น สรทมาณพพอบิดาล่วงลับดับชีพแล้ว ก็
ครอบครองทรัพย์สมบัติอันเป็นของมีประจำตระกูล วันหนึ่งไปในที่ลับคน
คิดว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านี้ ย่อมมีความตายเป็นที่สุดอย่างเดียวกัน,
เพราะฉะนั้น เราควรเข้าไปบวชแสวงหาโมกขธรรมเถิด ดังนี้แล้ว จึง

1. บาลีเป็นสารีปุตตเถรคาถา.

เข้าไปหาสหาย กล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย ! เรามีความประสงค์จะบวช, ท่าน
เล่า ! จักสามารถเพื่อจะบวชได้ไหม, เมื่อเพื่อนตอบว่า เราไม่สามารถ
จะบวชได้ จึงกล่าวว่า ก็ตามใจเถอะ เราจักบวชคนเดียวก็ได้ ดังนี้แล้ว
จึงให้คนใช้เปิดประตูเรือนคลังลำหรับเก็บรัตนะออกมา ให้มหาทานแก่
คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น แล้วไปยังเชิงบรรพต บวชเป็นฤาษี.
บรรดาบุตรพราหมณ์ประมาณ 74,000 คน ได้พากันออกบวชตามสรท-
มาณพนั้นแล้ว. สรทมาณพนั้นทำอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ให้บังเกิด
ขึ้นแล้ว ก็บอกการบริกรรมกสิณแก่พวกชฎิลแม้เหล่านั้น. พวกชฎิล
แม้เหล่านั้นทั้งหมด ก็พากันทำอภิญญา 5 และสมาบัติ 8 ให้บังเกิดขึ้น
แล้ว.
สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ทรง
อุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงยังพระธรรมจักรอันประเสริฐให้เป็นไปแล้ว
ทรงยังหมู่สัตว์ให้ข้ามพ้นจากห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร วันหนึ่ง จึงคิดว่า
เราจักทำการสงเคราะห์สรทดาบส และพวกอันเตวาสิก ดังนี้ พระองค์
เดียวไม่มีใครเป็นที่สอง ทรงถือเอาบาตรและจีวรเสด็จไปโดยอากาศ
ตรัสว่า ดาบสจงรู้เราว่าเป็นพระพุทธเจ้าเถิด ดังนี้ เมื่อดาบสกำลังเห็นอยู่
นั่นแหละ จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนเหนือปฐพี.
สรทดาบส จึงใคร่ครวญถึงมหาปุริสลักษณะในสรีระของพระศาสดา
ถึงความตกลงใจว่า บุคคลนี้ คือพระสัพพัญญูพุทธเจ้าแน่แท้ จึงทำ
การต้อนรับปูลาดอาสนะถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะ
ที่เขาปูลาดถวายแล้ว สรทดาบสนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง ใกล้พระ-
ศาสดา.

สมัยนั้น พวกอันเตวาสิกของสรทดาบสนั้น เป็นชฎิลมีประมาณ
74,000 คน พากันถือเอาผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตอย่างยิ่ง มีโอชารส
ดีมาแล้ว เห็นพระศาสดา เกิดมีความเลื่อมใส และแลดูอาการที่อาจารย์
และพระศาสดานั่ง จึงกล่าวว่า อาจารย์ เมื่อก่อนพวกเราเข้าใจว่า ไม่
มีใครยิ่งใหญ่เกินกว่าท่าน แต่บุรุษนี้ เห็นจะยิ่งใหญ่กว่าท่านเป็นแน่.
สรทดาบสตอบว่า พ่อทั้งหลาย นี่พวกพ่อพูดอะไรกัน พวกพ่อปรารถนา
จะทำภูเขาสิเนรุ ซึ่งสูงตั้ง 6,800,000 โยชน์ ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์
ผักกาดได้อย่างไร พวกท่านอย่าเอาเราไปเปรียบกับพระสัพพัญญูพุทธเจ้า
เลย.
ครั้งนั้น พวกดาบสนั้นฟังคำของอาจารย์แล้ว พากันคิดว่า บุรุษ
นี้เป็นผู้ยิ่งใหญ่หนอ ทั้งหมดจึงพากันหมอบลงที่แทบเท้า ถวายบังคม
พระศาสดา.
ครั้งนั้น อาจารย์กล่าวกะพวกอันเตวาสิกนั้นว่า แน่ะพวกพ่อ ไทย-
ธรรมของพวกเรา ที่จะสมควรแด่พระศาสดา ไม่มีเลย, และพระศาสดา
เสด็จมาในที่นี้ ในเวลาภิกขาจาร, เอาเถอะ พวกเราจักถวายไทยธรรม
ตามกำลัง, พวกท่านจงนำผลไม้น้อยใหญ่ที่ประณีตนั้นมาเถิด ครั้นให้นำ
มาแล้ว ล้างมือให้สะอาดแล้ว ตนเองจึงวางไว้ในบาตรของพระตถาคต
และพอพระศาสดารับผลไม้น้อยใหญ่ พวกเทวดาก็เดิมทิพยโอชาลง.
ดาบสทำการกรองน้ำถวายเอง. ต่อแต่นั้น เมื่อพระศาสดา
ประทับนั่งทำโภชนกิจให้เสร็จสิ้นแล้ว ดาบสก็เรียกอันเตวาสิกทั้งหมดมา
นั่ง กล่าวสารณียกถาในสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงดำริว่า
อัครสาวกทั้งสอง จงมาพร้อมกับภิกษุสงฆ์เถิด. อัครสาวกทั้งสองนั้น

ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้ว ในขณะนั้น จึงมีพระขีณาสพ
100,000 รูปเป็นบริวาร พากันมาไหว้พระศาสดาแล้ว ยืน ณ ที่สมควร
ข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น สรทดาบสจึงเรียกพวกอันเตวาสิกมาว่า พวกพ่อ พึง
เอาอาสนะดอกไม้ทำการบูชาพระศาสดาและภิกษุสงฆ์เถิด เพราะฉะนั้น
จงเอาดอกไม้มาเถิด. ในขณะนั้นนั่นเอง พวกอันเตวาสิกนั้น นำเอา
ดอกไม้ที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น ด้วยฤทธิ์แล้ว ปูลาดเป็นอาสนะดอกไม้
ประมาณโยชน์หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า, ประมาณ 3 คาวุต แก่พระอัครสาวกทั้ง
สอง ประมาณกึ่งโยชน์แก่พวกพระภิกษุที่เหลือ ปูลาดประมาณ 1 อุสภะ แก่
ภิกษุสงฆ์นวกะ. เมื่อพวกอันเตวาสิกนั้นพากันปูลาดอาสนะเรียบร้อยแล้ว
อย่างนั้น สรทดาบสจึงยืนประคองอัญชลีข้างหน้าพระตถาคต กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงเสด็จขึ้นบนอาสนะดอกไม้นี้
เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้แล้ว. เมื่อพระ-
ศาสดาประทับนั่งแล้ว อัครสาวกทั้งสองและพวกภิกษุที่เหลือ ต่างก็พากัน
นั่งบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตนๆ. พระศาสดาตรัสว่า ขอผลเป็นอันมาก
จงสำเร็จแก่ดาบสเหล่านั้นเถิด แล้วทรงเข้านิโรธสมาบัติ. พระอัครสาวก
ทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่าพระศาสดาเข้าสมาบัติแล้ว จึงพากัน
เข้านิโรธสมาบัติบ้าง. ดาบสได้ยืนกั้นฉัตรดอกไม้ตลอด 7 วัน อันหา
ระหว่างมิได้. ฝ่ายอันเตวาสิกนอกนี้ พากันบริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว
ในกาลที่เหลือก็พากันยืนประคองอัญชลี.
พอล่วง 7 วัน พระศาสดาก็เสด็จออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ตรัส

เรียกนิสภเถระอัครสาวกมาว่า เธอจงอนุโมทนาอาสนะดอกไม้ของ
ดาบสทั้งหลายเถิด. พระเถระดำรงอยู่ในสาวกบารมีญาณ ได้กระทำการ
อนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสเหล่านั้นแล้ว. ในที่สุดแห่งเทศนาของ
พระเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกอโนมเถระอัครสาวกที่สอง (ฝ่ายซ้าย)
มาว่า แม้เธอก็จงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านี้บ้างเถิด.
แม้พระอโนมเถระนั้น ก็พิจารณาถึงพระพุทธวจนะ คือพระไตร-
ปิฎกแล้ว จึงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น การบรรลุธรรมด้วยการแสดง
ธรรม แม้ของพระอัครสาวกทั้งสองไม่ได้มีแล้วแก่คน แม้สักคนเดียว.
ในที่สุดเทศนา เว้นสรทดาบสเสีย พวกชฎิลที่เหลือทั้งหมดประมาณ
74,000 คน ก็บรรลุพระอรหัต. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัส
ว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในบัดดลนั้นเอง พวกชฎิลนั้นเป็นผู้มีเพศแห่ง
ดาบสอันตรธานไปแล้ว เป็นผู้ทรงบริขาร 8 อันประเสริฐ ได้เป็นราวกะ
พระเถระอายุ 60 ปี.
ฝ่ายสรทดาบส ตั้งความปรารถนาว่า โอหนอ แม้ตัวเรา พึงได้
เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล เหมือนพระนิสภ-
เถระนี้เถิด ดังนี้ ในเวลาพระศาสดาทรงแสดงธรรม เป็นผู้ส่งใจไปใน
ที่อื่นเสีย เพราะค่าที่ตนเกิดความปริวิตกขึ้น จึงไม่สามารถจะบรรลุแจ้ง
มรรคและผลได้. ลำดับนั้น สรทดาบสจึงถวายบังคมพระตถาคตแล้ว
ตั้งความปรารถนาไว้เหมือนอย่างนั้น. แม้พระศาสดาทรงเห็นว่าสรท-
ดาบสนั้น จะสำเร็จความปรารถนาโดยหาอันตรายมิได้ จึงตรัสพยากรณ์

ว่า ตั้งแต่นี้ไปล่วงอสงไขยกำไรแสนกัป เธอจักชื่อว่า สารีบุตร เป็น
อัครสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโคดม ดังนี้แล้ว จึง
ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปทางอากาศ.
ฝ่ายสรทดาบส ไปหาสิริวัฑฒะผู้เป็นสหายแล้วกล่าวว่า เพื่อนเอ๋ย
เราปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า
โคดม ผู้จะอุบัติในอนาคตกาล ณ บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
พระนามว่า อโนมทัสสี, แม้ท่าน ก็จงปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่
สอง (ฝ่ายซ้าย) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นบ้างเถอะ. สิริวัฑฒะ
ได้ฟังคำแนะนำนั้นแล้ว จึงให้ปรับพื้นที่ประมาณ 8 กรีส ใกล้ประตู
ที่อยู่ของตนให้สม่ำเสมอแล้ว เกลี่ยดอกไม้ทั้งหลายมีดอกบวบขมเป็นที่ 5
แล้วให้สร้างมณฑปมุงด้วยดอกอุบลเขียวแล้ว ปูลาดอาสนะสำหรับพระ-
พุทธเจ้า และปูลาดอาสนะสำหรับพวกภิกษุ ตระเตรียมสักการะและ
สัมมานะเป็นอันมากแล้ว ให้สรทดาบสนิมนต์พระศาสดา ยังมหาทานให้
เป็นไปตลอด 7 วันแล้ว ให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นุ่งห่ม
ผ้าอันควรแก่ค่ามากมายแล้ว ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อเป็นอัครสาวกที่ 2.
ถึงพระศาสดาก็ทรงเล็งเห็นว่า เขาจะสำเร็จความปรารถนาโดยหา
อันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา
ภัตแล้วเสด็จหลีกไป. สิริวัฑฒะร่าเริงดีใจมาก บำเพ็ญกุศลกรรมจน
ตลอดชีวิต ในวาระจิตที่ 2 บังเกิดในกามาวจรเทวโลก. สรทดาบส
เจริญพรหมวิหาร 4 บังเกิดในพรหมโลก.
จำเดิมแต่นั้น ท่านก็มิได้กล่าวถึงกรรมในระหว่างแม้เเห่งบุคคล
ทั้งสองนั้นเลย. ก็ก่อนหน้าการอุบัติของพระผู้มีภาคเจ้าของพวกเรา สรท-

ดาบสถือปฏิสนธิในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี ในอุปติสสคาม
ไม่ไกลกรุงราชคฤห์. ในวันนั้นนั่นเอง แม้สหายของเขา ก็ถือปฏิสนธิ
ในท้องของนางพราหมณี ชื่อว่า โมคคัลลี ในโกลิตคาม ไม่ไกลกรุง
ราชคฤห์นักเลย.
ได้ยินว่า สกุลทั้งสองนั้นเป็นสหายสืบเนื่องกันมา นับได้ 7 ชั่ว-
สกุลนั่นเทียว. ชนทั้งหลายได้ให้คัพภบริหารเริ่มตั้งแต่วันที่หนึ่งนั่นแล
แก่ตระกูลทั้งสองนั้น. โดยล่วงไป 10 เดือน แม่นม 66 คนได้พากัน
บำรุงคนทั้งสองที่เกิดแล้ว, ในวันตั้งชื่อ พวกญาติได้ทำการตั้งชื่อ
บุตรของนางพราหมณีรูปสารีว่า อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรแห่งสกุลอัน
ประเสริฐสุด ในอุปติสสคาม, ตั้งชื่อบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะเป็น
บุตรแห่งสกุลอันประเสริฐสุดในโกลิตคาม. เด็กทั้งสองคนนั้นมีบริวาร
มากมาย เจริญวัยแล้ว ได้สำเร็จการศึกษาทุกอย่างแล้ว.
ครั้นวันหนึ่ง เมื่อคนทั้งสองนั้น ดูการเล่นมหรสพบนยอดภูเขา ณ
กรุงราชคฤห์ เห็นมหาชนประชุมกันแล้ว มีโยนิโสมนสิการเกิดผุดขึ้น
เพราะค่าที่คนมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงพากันคิดว่า คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด
ไม่ถึงร้อยปีก็จักตั้งอยู่ในปากแห่งความตาย ดังนี้แล้ว ได้ความสังเวช
ทำความตกลงใจว่า พวกเราควรจะแสวงหาโมกขธรรม, และการ
จะแสวงหาโมกขธรรมนั้น ควรเพื่อจะได้การบรรพชาสักอย่างหนึ่ง
จึงพร้อมกับมาณพ 500 คน พากันบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก.
จำเดิมแต่กาลที่คนเหล่านั้นบวชแล้ว สัญชัยได้เป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ
และเลิศด้วยยศ.
โดยล่วงไป 2-3 วันเท่านั้น คนทั้งสองนั้นพากันยึดถือลัทธิของ

สัญชัยทั้งหมดแล้ว มองไม่เห็นสาระในลัทธินั้น จึงพากันออกจากลัทธิ
นั้น ถามปัญหากะสมณพราหมณ์ ที่สมมติกันว่าเป็นบัณฑิตเหล่านั้น
ในที่นั้นๆ, สมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกคนทั้งสองนั้นถามปัญหาแล้ว
แก้ปัญหาไม่ได้ โดยที่แท้คนทั้งสองต้องแก้ปัญหาแก่สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น. คนทั้งสองนั้น ขณะแสวงหาโมกขธรรม ได้ทำกติกากันไว้แล้ว
อย่างนี้ว่า ในพวกเรา ผู้ใดบรรลุอมตธรรมก่อนกว่า ผู้นั้นจงบอกแก่
คนนอกนี้ให้ทราบบ้าง.
ก็สมัยนั้น เมื่อพระศาสดาของพวกเราบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ
ครั้งแรก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรให้เป็นไปแล้ว ทรงทรมาน
พวกชฎิล 1,000 คน มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น โดยลำดับแล้ว ประทับ
อยู่ในกรุงราชคฤห์ วันหนึ่ง อุปติสสปริพาชกไปยังอารามของปริ-
พาชก มองเห็นท่านพระอัสสชิเถระ กำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุง
ราชคฤห์ จึงคิดว่า บรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาเห็นปานนี้
เราไม่เคยเห็นเลย, ชื่อว่า ธรรมอันสงบพึงมีในที่นี้ ดังนี้ จึงเกิดความ
เลื่อมใส รอท่าติดตามไปข้างหลังท่าน เพื่อจะถามปัญหา.
แม้พระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ก็ไปยังโอกาสอันสมควร เพื่อจะ
ทำการบริโภค, ปริพาชกจึงปูลาดตั่งสำหรับปริพาชกของตนถวายท่าน.
ก็ในที่สุดภัตกิจ เขาได้ถวายน้ำจากคนโทน้ำของตนแก่ท่าน.
ปริพาชกนั้น กระทำอาจริยวัตรอย่างนั้นแล้ว การทำปฏิสันถาร
กับพระเถระผู้มีภัตกิจอันกระทำแล้ว จึงถามว่า ใครเป็นศาสดาของ
ท่าน, หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร. พระเถระแสดงอ้างถึงพระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระเถระนั้น ถูกปริพาชกนั้นถามอีกว่า ก็พระศาสดา

ของท่านมีปกติกล่าวอะไร ดังนี้แล้วจึงตอบว่า เราจักแสดงความลึกซึ้ง
ของพระศาสนานี้ จึงแสดงชี้แจงความที่ตนเป็นผู้ใหม่แล้ว และเมื่อ
จะกล่าวศาสนธรรมแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า ธรรม
เหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้เป็นต้น. ปริพาชกได้ฟังสองบทแรก
เท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันสมบูรณ์ด้วยพันนัย, สองบทนอก
นี้ จบลงในเวลาที่เป็นพระโสดาบันแล้ว.
ก็ในเวลาจบคาถา อุปติสสปริพาชกเป็นพระโสดาบัน กำหนด
ความวิเศษที่เหนือขึ้นไป ที่พระเถระยังมิให้เป็นไปว่า เหตุในข้อนี้ จักมี
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวกับพระเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อย่าแสดงพระธรรม-
เทศนาให้สูงขึ้นไปเลย, เท่านี้ก็พอแล้ว, พระศาสดาของพวกเรา ประทับ
อยู่ในที่ไหน ? พระเถระตอบว่า ที่พระเวฬุวัน. อุปติสสะเรียนว่า ข้า-
แต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงล่วงหน้าไปก่อนเถอะ กระผมจักเปลื้อง
ปฏิญญาที่ให้ไว้กับสหายของกระผมก่อนแล้ว จักพาเขาไปดังนี้แล้ว ไหว้
ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทำประทักษิณ 3 ครั้งแล้ว ส่งพระเถระไปแล้ว
จึงได้ไปยังอาศรมของปริพาชก.
โกลิตปริพาชก มองเห็นอุปติสสปริพาชกกำลังเดินมาแต่ที่ไกล
เทียว คิดว่า วันนี้เขามีหน้าตาแจ่มใส ไม่เหมือนในวันอื่น ๆ เลย,
เห็นทีจักบรรลุอมตธรรมเป็นแน่แท้ ดังนี้แล้ว ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ
จึงยกย่องการบรรลุคุณวิเศษของเขาแล้ว ถามถึงการบรรลุอมตธรรม.
แม้อุปติสสะนั้นก็แสดงให้รู้ว่า ใช่ ! อาวุโส เราบรรลุอมตธรรมแล้ว
ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานั้นนั่นแหละแก่เขา. ในเวลาจบคาถา โกลิตะ
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวว่า พระศาสดาของพวกเราประทับ

อยู่ที่ไหน ? อุปติสสะตอบว่า ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน. โกลิตะกล่าวว่า
ถ้าอย่างนั้น พวกเราไปกันเถอะ อาวุโส, จักได้เข้าเฝ้าพระศาสดา.
อุปติสสะเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ตลอดกาลทั้งปวง, เพราะฉะนั้น ไปหา
สัญชัยแล้ว ประกาศคุณของพระศาสดาแล้ว ได้เป็นผู้ประสงค์จะนำแม้
สัญชัยนั้นไปยังสำนักพระศาสดาบ้าง.
สัญชัยปริพาชกนั้น เป็นผู้ถูกความหวังในลาภเข้าครอบงำ จึง
ไม่ต้องการเป็นอันเตวาสิก ห้ามว่า เราไม่อาจจะเป็นตุ่มใส่น้ำอาบได้
อุปติสสะและโกลิตะนั้น ไม่สามารถจะให้สัญชัยนั้นกลับใจได้ จึงพร้อม
กับพวกอันเตวาสิก 250 คน ผู้พระพฤติตามโอวาทของตน ได้ไปยัง
เวฬุวัน. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอันเตวาสิกเหล่านั้น กำลัง
เดินทางมาแต่ไกล จึงตรัสว่า นั่นจักเป็นคู่สาวกของเรา เป็นคู่อัน
เลิศ เป็นคู่อันเจริญ ดังนี้ ทรงแสดงธรรมด้วยอำนาจความประพฤติ
ของบริษัทของอัครสาวกทั้งสองนั้น แก่บริษัทแล้ว ให้ตั้งอยู่ในความเป็น
พระอรหัต ได้ประทานอุปสมบท โดยเอหิภิกษุ. บาตรและจีวรอัน
สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้มาแล้วแม้แก่อัครสาวกทั้งสอง เหมือนอย่างบริษัท
ของอัครสาวกทั้งสองนั้นนั่นแล แต่กิจแห่งอริยมรรค 3 เบื้องบน ยังไม่
สำเร็จ. เพราะเหตุไร ? เพราะสาวกบารมีญาณนั้นยิ่งใหญ่.
ในบรรดาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
ตั้งแต่วันบวชมา ในวันที่ 7 บำเพ็ญสมณธรรม ที่บ้านกัลลวาลคาม
ที่มคธรัฐก้าวลงสู่ความง่วง เป็นผู้อันพระศาสดาให้เกิดความสลดใจแล้ว
บรรเทาความง่วงเสียได้ ฟังธาตุกัมมัฏฐานนั่นแล บรรลุอริยมรรค 3
เบื้องบนแล้ว บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ.

ส่วนท่านพระสารีบุตร ตั้งแต่วันบวชมาล่วงไปได้กึ่งเดือน เมื่อ
พระศาสดาแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนขปริพาชกหลานของตน
ณ ที่ถ้ำสูกรขาตา ในกรุงราชคฤห์ ส่งญาณไปตามแนวเทศนา ก็บรรลุ
ที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณได้ เหมือนบริโภคภัตที่คนอื่นคดไว้แล้วฉะนั้น.
สาวกบารมีญาณของอัครสาวกทั้งสองนั้น ถึงที่สุดในที่ใกล้พระ-
ศาสดานั่นแหละ. ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ใน
อปทานว่า:-1
ในที่ไม่ไกลจากหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ
เราสร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น
อาศรมของเราไม่ไกลจากฝั่งแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบ-
เรียบเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาว
สะอาด.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้นมีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ตลิ่ง
ไม่ขัน น้ำจืดสนิทไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรม
ของเรางาม ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลามและเต่าว่ายน้ำ
เล่นอยู่ในแม่น้ำ ไหลไป ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ย่อม
ทำอาศรมของเราให้งาม ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก
ปลาสวาย ปลาเค้า ปลาตะเพียน และปลานกกระจอก
ว่ายโลดโดดอยู่ ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม.

ที่สองฝั่งแม้น้ำมีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่
ทั้งสองฝั่ง ย่อมทำอาศรมของเราให้งาม ไม้มะม่วง ไม้รัง


1. ขุ. อ. 32/ข้อ 3.

หมากเม่า แคฝอย ไม้ยางทราย ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่
เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง
ไม้กระทุ่ม กระถินพิมาน บุนนาคและลำเจียก มีกลิ่นหอม
ฟุ้งไปเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา ไม้
ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบ บานสะพรั่งอยู่ใกล้
อาศรมของเรา ไม้ปรู และมะกล่ำหลวง ดอกบาน
สะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา การะเกด พะยอมขาว พิกุล
และมะลิซ้อนมีดอกหอมอบอวล ทำอาศรมเราให้งาม ไม้
เจตภังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันมีมาก
มีดอกหอมฟุ้ง หำให้อาศรมของเรางาม มะนาว มะงั่ว
และแคฝอย ดอกบานสะพรั่งหอมตลบอบอวล ทำอาศรม
ของเราให้งาม ไม้ราชพฤกษ์ อันชันเขียว ไม้กระทุ่ม
และพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป ทำอาศรมของเราให้งาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด งอกงามด้วยน้ำ
หอม ออกผลสะพรั่ง ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอก
บัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัวหลวงชนิดหนึ่งดอกร่วงพรู บาน
อยู่ในบึงในกาลนั้น กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวเลื้อยไป
เสมอ กระจับเกลื่อนด้วยใบ งามอยู่ในบึงในกาลนั้น ไม้
ตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรา และชบากลิ่นหอมตลบไป
ดอกบานอยู่ในบึง.

ในกาลนั้น ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย
ปลาเค้า ปลาตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน มี

อยู่ในบึงในกาลนั้น ฝูงจระเข้ ปลาฉลาม ปลาฉนาก
ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือมใหญ่ที่สุดอยู่ในบึงนั้น.

ในกาลนั้น ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพราก
(ห่าน) นกกาน้ำ นกดุเหว่า และสาลิกา อาศัยเลี้ยง
ชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น ฝูงนกกวัก ไก่ป่า ฝูงนกกะลิงป่า
นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้
สระนั้น ฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูง นกแขกเต้า ไก่งวง
นกค้อนหอย และนกออก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้
สระนั้น ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขา เหยี่ยวมีมาก
และฝูงนกกาน้ำ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต อยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงเนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอกมีอยู่มาก
ละมั่ง และเนื้อทราย ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระ
นั้น ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน
กับเสือดาว โขลงช้างแยกเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงไว้
อยู่ใกล้สระนั้น เหล่ากินนร วานร และแม้คนทำการงาน
ในป่า หมาไล่เนื้อ และนายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิต
อยู่ใกล้สระนั้น.

ต้นมะพลับ มะหาด มะขาง หมากเม่า เผล็ดผล
ทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ต้นคำ ต้นสน
กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผลรสหวาน เผล็ดผลทุกฤดู อยู่
ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา ต้นสมอ มะขามป้อม ต้นหว้า
สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า และมะตูม เผล็ดผล

เป็นนิจ เชือกเขา มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก กะเม็ง
และคัดมอน มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีสระที่ขุดไว้อย่างดี มีน้ำ
ใสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ ดารดาษ
ด้วยบัวหลวง อุบลและบัวขาว เกลื่อนกลาดด้วยบัวขม
บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ เป็นผู้มีศีล
สมบูรณ์ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ
บรรลุถึงอภิญญา 5 และพละ 5 อยู่ในอาศรมที่สร้าง
เรียบร้อย น่ารื่นรมย์ ในป่าอันบริบูรณ์ด้วยรบไม้ในดอก
และไม้ผลทุกสิ่งอย่างนี้ ศิษย์ 24,000 นี้แลเป็นพราหมณ์
ทั้งหมด ผู้มีชาติมียศบำรุงเรา มวลศิษย์ของเรานี้ เป็น
ผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ในตำราทายลักษณะ
และในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์
เกฏุภะ รู้จบไตรเพท บรรดาศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดใน
ลางดีร้าย ในนิมิตดีร้าย และในลักษณะทั้งหลาย ศึกษา
ดี ในพื้นแผ่นดินและในอากาศ ศิษย์เหล่านี้มีความ
ปรารถนาน้อย มีปัญญา กินหนเดียว ไม่โลภ สันโดษ
ด้วยลาภและความเสื่อมลาภ บำรุงเราทุกเมื่อ เป็นผู้
เพ่งฌาน ยินดีในณาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบตั้งมั่น
ปรารถนาความไม่มีกังวล บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ เป็นผู้ถึง
ที่สุดอภิญญา ยินดีในอารมณ์อันเป็นโคจรของบิดา

เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์ บำรุงเราอยู่ทุกเมื่อ
ศิษย์ของเราเหล่านั้นสำรวมในทวารทั้ง 6 ไม่หวั่นไหว
รักษาอินทรีย์ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ เป็นนักปราชญ์
หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ด้วย
การนั่งคู้บัลลังก์ การยืนและเดินตลอดราตรี หาผู้อื่น
เสมอได้ยาก มวลศิษย์ของเราไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่
ตั้งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งความขัด-
เคือง ไม่หลงในธรรมเป็นที่ตั้งความหลง ยากที่จะคร่า
ไปได้ ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ประพฤติอยู่
เป็นนิตยกาล บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใคร ๆ
จะแข่งได้ ศิษย์เหล่านั้นเข้าปฐมฌานเป็นต้น พวกหนึ่ง
ไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพวิเทหทวีป
พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา ศิษย์
ของเราหาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้าง
หน้า ตนไปข้างหลัง ท้องฟ้าเป็นฐานะอันดาบส 24,000
ปกปิดแล้ว ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุกด้วยไฟกิน บางพวก
กินดิบ ๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟันแทะเปลือกออกแล้วกิน
บางพวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกตำด้วยครกหินกิน
บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง บางพวกชอบสะอาดลงอาบ
น้ำทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวกเอาน้ำรดอาบ ศิษย์
ของเราหาผู้อื่นเสมอได้ยาก ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ
เล็บเท้าและขนรักแร้งอกยาว ขี้ฟันเขรอะ มีธุลีบนเศียร

หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ดาบสทั้งหลาย
มีตบะแรงกล้า ประชุมกันในเวลาเช้าแล้ว ไปประกาศ
ลาภน้อยลาภมากในอากาศ.

ในกาลนั้น เมื่อดาบสนี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็น
ไป เทวดาทั้งหลายย่อมยินดีด้วยเสียงหนังสัตว์ ฤาษี
เหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ
ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา.

ปวงฤาษีนี้แล ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว เที่ยวไปใน
อากาศ มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ ดังสาครยาก
ที่ใคร ๆ จะให้ขุ่นได้ ฤาษีศิษย์ของเราบางพวกประกอบ
การยืนและเดิน บางพวกไม่นอน บางพวกกินผลไม้
ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอได้ยาก ท่านเหล่านี้มีปกติ
อยู่ด้วยเมตตา แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
ไม่ยกย่องตน ทั้งหมดไม่ติเตียนใคร ๆ ทั้งนั้น เป็นผู้ไม่
เย้ยหยันใคร ๆ. เป็นผู้ไม่กลัวดังพระยาราชสีห์ มีกำลัง
เหมือนพระยาคชสาร ยากที่จะข่มได้ ดุจเสือโคร่ง
ย่อมมาในสำนักของเรา.

พวกวิทยาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสือน้ำ กุมภัณฑ์
อสูร และครุฑ ย่อมอาศัยและเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น
ศิษย์ของเราเหล่านั้นทรงชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยผลไม้และ
เหง้ามัน นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศได้ทุกตน อยู่
ใกล้สระนั้น.

ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้สมควร มีความเคารพ
กันและกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง 24,000 ย่อมไม่มี
ท่านเหล่านี้ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า เงียบเสียงสังวรดี เข้า
มาไหว้เราด้วยเศียรเกล้าทั้งหมดนั้น เราผู้เพ่งฌาน ยินดี
ในฌาน ห้อมล้อมด้วยศิษย์เหล่านั้น ผู้สงบระงับ มีตบะ
อยู่ในอาศรมนั้น อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่นศีล
ของเหล่าฤาษี และด้วยกลิ่นสองอย่าง คือกลิ่นดอกไม้
และกลิ่นผลไม้ เราไม่รู้สึกตลอดคืนและวัน ความไม่ยินดี
ไม่มีแก่เรา เราสั่งสอนบรรดาศิษย์ของตน ย่อมได้ความ
ร่าเริงอย่างยิ่ง เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และเมื่อผลไม้
ทั้งหลายสุก กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้
งาม เราออกจากสมาบัติแล้ว มีความเพียร มีปัญญา ถือ
เอาภาระคือหาบเข้าป่า

ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีลางร้าย ฝันดี
ฝันร้ายและตำราทำนายลักษณะ ทรงลักษณมนต์อันกำลัง
เป็นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เป็นผู้
ประเสริฐในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่วิเวก เป็น
สัมพุทธเจ้า เข้าไปยังป่าหิมวันต์ พระองค์ผู้เลิศ เป็น
มุนีประกอบด้วยกรุณา เป็นอุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมวันต์
แล้ว ทรงนั่งคู้บัลลังก์ เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์
นั้น มีรัศมีสว่างเจ้า น่ารื่นรมย์ใจดังดอกบัวเขียว ทรง

รุ่งเรืองควรบูชา ดังกองไฟ เราได้เห็นพระนายของโลก
ทรงรุ่งโรจน์ดุจดวงไฟ เหมือนสายฟ้าในอากาศ เช่นกับ
พญูารัง มีดอกบานสะพรั่ง เพราะอาศัยการได้เห็น
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ เป็นมหาวีระ ทรงทำที่
สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ครั้นเรา
ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดาแล้ว
ได้ตรวจดูลักษณะว่าเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่ มิฉะนั้น
เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจักษุ เราได้เห็นจักรมีกำ
พันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะของ
พระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงในพระตถาคต.

ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั่นแล้ว ได้นำเอา
ดอกไม้ 8 ดอกมาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ครั้น
บูชาพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ
หนังเสือดาวเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของ
โลก พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วย
พระญาณใด เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลาย
จงฟังคำเรากล่าว พระสยัมภูผู้มีความเจริญมากที่สุด ทรง
ถอนสัตวโลกนี้แล้ว สัตว์เหล่านั้นอาศัยการได้เห็น
พระองค์ ย่อมข้ามกระแสน้ำคือความสงสัยได้ พระองค์
เป็นพระศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็น
ร่มเงา เป็นที่พึ่ง เป็นประทีปส่องทาง เป็นพระ-
พุทธเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย น้ำในสมุทรอาจประมาณด้วย

มาตราตวง แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุต-
ญาณของพระองค์ได้เลย เอาดินมาชั่งดูแล้วอาจประมาณ
แผ่นดินได้ แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุต-
ญาณของพระองค์ได้เลย อาจวัดอากาศได้ด้วยเชือก หรือ
นิ้วมือ แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณ
ของพระองค์ได้เลย พึงประมาณลำน้ำในมหาสมุทร
และแผ่นดินทั้งหมดได้ แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมา
ประมาณนั้นไม่ควร ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ จิตของ
สัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลกย่อมเป็นไป สัตว์เหล่านี้เข้าไป
ภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ พระองค์ทรง
บรรลุโพธิญาณอันอุดมสิ้นเชิงด้วยพระญาณใด พระ-
สัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญญเดียรถีย์พระญาณนั้น ท่าน
สุรุจิดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้ แล้วปูลาดหนัง
เสือบนแผ่นดินแล้วนั่งอยู่ ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขา
สูงสุดหยั่งลงในห้วงมหรรณพ 84,000 โยชน์ ขุนเขา
สิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูงสุดเพียงนั้น ทำให้
ละเอียดได้ด้วยประเภทการนับว่าแสนโกฏิ เมื่อตั้งเครื่อง
หมายไว้ พึงถึงความสิ้นไป แต่ใคร ๆ ไม่อาจประมาณ
พระสัพพัญญุตญาณพระองค์ได้เลย ผู้ใดพึงเอาข่าย
ตาเล็ก ๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่าพึงเข้ารูปภายใน
ข่ายผู้นั้น ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนา
บางพวกก็เช่นนั้น แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วย

การลูบคลำ เดียรถีย์เหล่านี้เข้าไปภายในข่ายด้วยพระ-
ญาณอันบริสุทธิ์ อันแสดงว่าไม่มีอะไรห้ามได้ของพระ-
องค์ในล่วงพระญาณของพระองค์ไปได้.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าอโนม-
ทัสสี ผู้มียศใหญ่ทรงชำนะกิเลส เสด็จออกจากสมาธิ
แล้วทรงตรวจดูทิศ พระอัครสาวกนามว่านิสภะของพระ-
มุนีพระนามว่าอโนมทัสสี ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้า
แล้ว อันพระขีณาสพหนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบระงับ มั่นคง
บริสุทธิ์สะอาดได้อภิญญา 6 คงที่ แวดล้อมแล้ว เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคผู้นายกของโลก ท่านเหล่านั้นอยู่บน
อากาศ ได้ทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วลงมา
ประนมอัญชลี นมัสการอยู่ในสำนักพระพุทธเจ้า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี เชษฐบุรุษของโลก
เป็นนระอาจหาญ ทรงชำนะกิเลส ประทับนั่งท่ามกลาง
ภิกษุสงฆ์ ทรงแย้ม ภิกษุนามว่าวรุณ อุปัฏฐากของพระ-
ศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสี ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
แล้ว ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นายกของโลกว่า ข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดาทรง
ยิ้มแย้มหนอ อันพระพุทธเจ้าย่อมไม่ทรงยิ้มแย้ม เพราะ
ไม่มีเหตุ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าอโนมทัสสี
เชษฐบุรุษของโลก เป็นนระองอาจ ประทับนั่งในท่ามกลาง

ภิกษุแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้
และเชยชมญาณของเรา เราจักประกาศผู้นั้น ท่าน
ทั้งหลายจงฟังเรากล่าว เทวดาทั้งปวงพร้อมทั้งมนุษย์
ทราบพระดำรัสของพระพุทธเจ้าแล้วประสงค์จะฟังพระ-
สัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า หมู่ทวยเทพ
ผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม
จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า อตุรงคเสนา คือพลช้าง
พลม้า พลรถ พลเดินเท้าจักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้
เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ดนตรีหกหมื่น กลอง
ที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการ
บูชาพระพุทธเจ้า หญิงล้วนแต่สาว ๆ หกหมื่นประดับ
ประดาสวยงาม มีผ้าและเครื่องอาภรณ์อันวิจิตร สวน
แก้วมณีและกุณฑล มีหน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผาย
ไหล่ผึ่งเอวกลม จักห้อมล้อมผู้นี้ นี้เป็นผลแห่งการบูชา
พระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ในเทวโลกตลอดแสนกัป
จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในแผ่นดินพันครั้ง จัก
เป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักเป็น
พระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับไม่ถ้วน.

ครั้นถึงภพที่สุด ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจาก
ครรภ์แห่งนางพราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อ
และโคตรของมารดา โดยชื่อว่าสารีบุตร จักมีปัญญา
คมกล้า จักเป็นผู้ไม่มีกังวล จะทั้งทรัพย์ประมาณ 80

โกฏิแล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหาสันติบททั่วแผ่นดินนี้
สกุลโอกกากะสมภพในกัปอันประมาณมิได้แต่กัปนี้ พระ-
ศาสดาทรงพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร จักมีในโลก
ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาทในธรรมของพระศาสดาพระองค์
นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จักได้เป็นพระอัครสาวกมีนาม
ว่าสารีบุตร แม่น้ำคงคาชื่อภาคีรถีนี้ ไหลมาแต่ประเทศ
หิมวันต์ ย่อมไหลถึงมหาสมุทรยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม
ฉันใด พระสารีบุตรนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญ แกล้วกล้า
ในพระเวทสาม ถึงที่สุดแห่งปัญญาบารมี จักยังสัตว์
ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึง
มหาสมุทรสาคร ในระหว่างนี้โดยจะนับทรายนี้นับไม่ถ้วน
การนับทรายแม้นั้น ก็อาจนับได้โดยไม่เหลือฉันใด ที่สุด
แห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่มี ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อตั้งคะแนนไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไปฉันใด
แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่เป็นฉันนั้นเลย
คลื่นในมหาสมุทรโดยจะนับก็นับไม่ถ้วนฉันใด ที่สุด
แห่งปัญญาพระสารีบุตรจักไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน พระ-
สารีบุตรยังพระสัมพุทธเจ้าผู้ศากยโคดมสูงสุดให้โปรด-
ปรานแล้ว จักได้เป็นพระอัครสาวกถึงที่สุดแห่งปัญญา
จักยังธรรมจักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรให้เป็นไปแล้ว
ให้เป็นไปตามโดยชอบ จักยังเมล็ดฝน คือธรรมให้
ตกลง.

พระโคดมผู้ศากยะสูงสุดทรงทราบข้อนั้นทั้งมวลแล้ว
จักประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง
อัครสาวก โอ กุศลกรรมเราได้ทำแล้ว เราได้ทำการ
บูชาพระศาสดาพระนามว่าอโนมทัสสีด้วยดอกไม้แล้ว
ได้ถึงที่สุดในที่ทุกแห่ง กรรมที่เราทำแล้วประมาณไม่ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงผลแก่เรา ณ ที่นี้ เราเผา
กิเลสทั้งหลายแล้ว เปรียบเหมือนกำลังลูกศรอันพ้นแล้ว
ด้วยดี เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท
ไม่หวั่นไหว ค้นหาลัทธิทั้งปวงอยู่ ท่องเที่ยวไปแล้วใน
ภพ คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ ต้องสั่งสมทรัพย์ไว้ทุก
อย่างเพื่อพ้นจากความป่วยไข้ฉันใด เราก็ฉันนั้น แสวง
หาบทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ดับสนิท ไม่หวั่นไหว ได้
บวชเป็นฤาษีห้าร้อยครั้งไม่คั่นเลย เราทรงชฎา เลี้ยง
ชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว
ได้ไปสู่พรหมโลก ความบริสุทธิ์ในลัทธิภายนอกไม่มี
เว้นศาสนาของพระชินเจ้า สัตว์ผู้มีปัญญาทั้งปวง ย่อม
บริสุทธิ์ได้ในศาสนาของพระชินเจ้า ฉะนั้น เราจึงไม่
นำเรานี้ผู้ใคร่ประโยชน์ไปในลัทธิภายนอก เราแสวงหา
บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งอยู่ เที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด บุรุษผู้
ต้องการแก่นไม้ พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออกก็ไม่พึงได้
แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่นฉันใด
คนในโลก ผู้เป็นเดียรถีย์เป็นอันมาก มีทิฏฐิต่างกัน ก็

ฉันนั้น คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือน
ต้นกล้วยว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น ครั้นเมื่อภพถึงที่สุด
แล้ว เราได้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพราหมณ์ เราละทิ้งโภค-
สมบัติเป็นอันมาก แล้วออกบวชเป็นบรรพชิต ข้าพระ-
องค์อยู่ในสำนักพราหมณ์ นามว่าสญชัย ซึ่งเป็นผู้
เล่าเรียน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ
พราหมณ์ชื่ออัสสชิสาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก
มีเดชรุ่งเรือง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น ข้าพระองค์
ได้เห็นท่านผู้มีปัญญา เป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นในความเป็นมุนี
มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดังดอกปทุม
ครั้นข้าพระองค์เห็นท่านผู้มีอินทรีย์ฝึกดีแล้ว มีใจบริสุทธิ์
องอาจประเสริฐ มีความเพียร จึงเกิดความคิดว่า ท่าน
ผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์ ท่านผู้นี้มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส มี
รูปงาม สำรวมดี จักเป็นผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอัน
สูงสุด จักเป็นผู้เห็นอมตบท ผิฉะนั้นเราพึงถามท่านผู้มี
ใจยินดีถึงประโยชน์อันสูงสุด หากเราถามแล้ว ท่านจัก
ตอบ เราจักสอบถามท่านอีก ข้าพระองค์ได้ตามไป
ข้างหลังของท่านซึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต รอคอยโอกาส
อยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท ข้าพระองค์เข้าไปหาท่าน
ซึ่งพักอยู่ในระหว่างถนน แล้วได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้
นิรทุกข์ มีความเพียร ท่านมีโคตรอย่างไร ท่านเป็น
ศิษย์ของใคร ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้ว ไม่ครั่นคร้าม

ดังพระยาไกรสร พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติ
แล้วในโลก ฉันเป็นศิษย์ของพระองค์ ท่านผู้มีความ
เพียรใหญ่ ผู้เกิดตาม มียศมาก ศาสนธรรมแห่งพระ-
พุทธเจ้าของท่านเช่นไร ขอได้โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด
ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียด
ทุกอย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศร คือตัณหา เป็นเครื่อง
บรรเทาความทุกข์ทั้งมวล ว่าธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดน
เกิด พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และ
ความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณเจ้ามีปกติ
ตรัสอย่างนี้ เมื่อท่านอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์
นั้นได้บรรลุผลที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน
เพราะได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ฟัง
คำของท่านมุนี ได้เห็นธรรมอันสูงสุด จึงหยั่งลงสู่พระ-
สัทธรรมได้กล่าวคาถานี้ว่า ธรรมนี้แล เหมือนบทอันมี
สภาพอันเห็นประจักษ์ ไม่มีความโศก ข้าพระองค์ไม่ได้
เห็น ล่วงเลยไปแล้วหลายหมื่นไป ข้าพระองค์แสวงหา
ธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด ประโยชน์นั้นข้าพระองค์
บรรลุแล้ว ไม่ใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์อันท่าน
พระอัสสชิให้ยินดีแล้ว บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว แสวงหา
สหายอยู่ จึงได้ไปยังอาศรม สหายเห็นข้าพระองค์แต่
ไกลเทียว อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว ถึงพร้อมด้วย
อิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีหน้าและตาอัน

ผ่องใส ย่อมจะเห็นความเป็นมุนีแน่ ท่านได้บรรลุอมต-
บทอันดับสนิทไม่เคลื่อนแลหรือ ท่านมีรูปงามราวกะว่ามี
ความไม่หวั่นไหวอันได้ทำแล้ว มาแล้ว ฝึกแล้วในอุบาย
อันฝึกแล้ว เป็นผู้สงบระงับแล้วหรือพราหมณ์ เราได้
บรรลุอมตบทอันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศร คือความโศก
แล้ว แม้ท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น เรามาไปสำนักพระ-
พุทธเจ้ากันเถิด สหายผู้อันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว
รับคำแล้ว ได้จูงมือพากันเข้ามายังสำนักของพระองค์
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากโยรส แม้ข้าพระองค์ทั้งสองจักบวช
ในสำนักของพระองค์ จักขออาศัยคำสอนของพระองค์
เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ ท่านโกลิตะเป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์
ข้าพระองค์ถึงที่สุดแห่งปัญญา เราทั้งสองจะร่วมกันทำ
พระศาสนาให้งาม เรามีความดำริยังไม่ถึงที่สุด จึงเที่ยว
ไปในลัทธิผิด เพราะได้อาศัยทัศนะของท่าน ความดำริ
ของเราจึงเต็ม ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตาม
ฤดูกาลส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล ยังสัตว์ทั้งปวงให้
ยินดีฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรศากโยรส ผู้มียศใหญ่
ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ในศาสนธรรมของพระองค์
แล้ว ย่อมเบ่งบานในสมัย พระองค์แสวงหาดอกไม้
คือวิมุตติ เป็นที่พ้นภพสงสาร ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี
ด้วยการให้ได้ดอกไม้ คือวิมุตติ ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ
เว้นพระมหามุนีแล้ว ตลอดพุทธเขต ไม่มีใครเสมอด้วย

ปัญญาแห่งข้าพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุตรของพระองค์ ศิษย์
และบริษัทของพระองค์ พระองค์แนะนำดีแล้ว ให้ศึกษา
ดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกจิตอันสูงสุด ย่อม
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเพ่งฌาน ยินดี
ในฌาน เป็นนักปราชญ์มีจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นมุนี ถึง
พร้อมด้วยความเป็นมุนี ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ
ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาน้อย มีปัญญาเป็นนัก-
ปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้งลาภและความ
เสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่าน
เหล่านั้นถืออยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน มีจีวร
เศร้าหมอง ยินดียิ่งในวิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อม
แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติ
ตั้งอยู่ในผล เป็นพระเสขะ พรั่งพร้อมด้วยผล หวัง
ผลประโยชน์อันอุดม ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ
ทั้งท่านที่เป็นพระโสดาบัน ทั้งที่เป็นสกทาคามี พระ-
อนาคามี และพระอรหันต์ปราศจากมลทิน ย่อมแวดล้อม
พระองค์อยู่เมื่อ สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาด
ในสติปัฏฐาน ยินดีในโพชฌงค์ภาวนา ทุกท่านย่อม
แวดล้อมพระองค์ทุกเมื่อ ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาด
ในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา หมั่นประกอบ
ในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ท่าน

เหล่านั้นมีวิชชา 3 มีอภิญญา 6 ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ถึง
ที่สุดแห่งปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ ข้าแต่
พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้แลหนอ
ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง แวดล้อม
พระองค์อยู่ทุกเมื่อ พระองค์อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวม
แล้ว มีตบะแวดล้อมแล้ว ไม่ครั้นคร้านดังราชสีห์
ย่อมงดงามดุจพระจันทร์ ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินแล้ว
ย่อมงาม ถึงความไพบูลย์ และย่อมเผล็ดผลฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ผู้มียศใหญ่ พระองค์เป็นเช่น
กับแผ่นดิน ศิษย์ทั้งหลายก็ฉันนั้น ตั้งอยู่ในศาสนาของ
พระองค์แล้ว ย่อมได้อมฤตผล แม่น้ำสินธุ แม่น้ำ
สรัสสดี แม่น้ำจันทภาคา แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา
แม่น้ำสรภู และแม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านั้นไหลมา
สาครย่อมรับไว้หมด แม่น้ำเหล่านี้ย่อมละชื่อเดิม ย่อม
ปรากฏเป็นสาครนั่นเองฉันใด วรรณะ 4 เหล่านี้ก็ฉันนั้น
บวชแล้วในสำนักของพระองค์ ย่อมละชื่อเดิมทั้งหมด
ปรากฏว่าเป็นบุตรของพระพุทธเจ้า เปรียบเหมือนดวง-
จันทร์อันปราศจากมลทิน โคจรอยู่ในอากาศ ย่อม
รุ่งโรจน์ล่วงมวลหมู่ดาวในโลกด้วยรัศมีฉันใด ข้าแต่-
พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น อันศิษย์ทั้งหลายแวด-
ล้อมแล้ว ย่อมรุ่งเรืองก้าวล่วงเทวดา และมนุษย์ ตลอด
พุทธเขตทุกเมื่อ.

คลื่นตั้งขึ้นในน้ำอันลึก ย่อมไม่ล่วงเลยฝั่งไปได้
คลื่นเหล่านั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็นระลอกเล็กน้อย.
เรี่ยรายหายไปฉันใด ชนในโลกเป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์
ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของ
พระองค์ แต่ก็ไม่ล่วงเลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้ ข้าแต่
พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าชนเหล่านั้นมาถึงพระองค์ด้วย
ความประสงค์จะคัดค้าน เข้ามายังสำนักของพระองค์แล้ว
ย่อมกลายเป็นจุรณไป เปรียบเหมือนดอกโกมุท บัวขม
และบัวเผื่อนเป็นอันมาก เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบ (ฉาบ)
อยู่ด้วยน้ำและเปือกตมฉันใด สัตว์เป็นอันมากก็ฉันนั้น
เกิดแล้วในโลก ย่อมงอกงาม ไม่อิ่มด้วยราคะและโทสะ
เหมือนดอกโกมุทในเปือกตมฉะนั้น ดอกบัวหลวงเกิดใน
น้ำ ย่อมไพโรจน์ในท่ามกลางน้ำ มันมีเกสรบริสุทธิ์
ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์
ก็ฉันนั้น เป็นมหามุนีเกิดแล้วในโลก ไม่ติดอยู่ด้วยโลก
ดังดอกปทุมไม่ติดด้วยน้ำฉะนั้น เปรียบเหมือนดอกไม้
อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือนกัตติกมาส
ไม่พ้นเดือนนั้นไป สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำบานฉันใด
ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ก็ฉันนั้น เป็นผู้บาน
แล้วด้วยวิมุตติของพระองค์ สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลย
ศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัวเกิดในน้ำย่อมบานไม่พ้น

เดือนกัตติกมาสฉะนั้น เปรียบเหมือนพญาไม้รังดอกบาน
สะพรั่ง กลิ่นหอมตลบไป อันไม้รังอื่นแวดล้อมแล้ว
ย่อมงามยิ่งฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น
บานแล้วด้วยพระพุทธญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว
ย่อมงามเหมือนพญาไม้รังฉะนั้น เปรียบเหมือนภูเขาหิน
หิมวา เป็นโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่อยู่ของพวกนาค
อสูร และเทวดาทั้งหลายฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
พระองค์ก็ฉันนั้น เป็นดังโอสถของมวลสัตว์ ข้าแต่
พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุเตวิชชา บรรลุอภิญญา 6
ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงพระกรุณาพร่ำสอนแล้ว
ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ
พระองค์ เปรียบเหมือนราชสีห์ผู้พระยาเนื้อ ออกจากถ้ำ
ที่อยู่แล้วเหลียวดูทิศทั้ง 4 แล้วบันลือสีหนาท 3 ครั้ง
เมื่อราชสีห์คำราม เนื้อทั้งปวงย่อมสะดุ้ง แท้จริง ราชสีห์
ผู้มีชาตินี้ ย่อมยังสัตว์เลี้ยงให้สะดุ้งทุกเมื่อฉันใด ข้าแต่
พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อม
หวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อมตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้ง
ฉันนั้น ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่
ปวงเดียรถีย์ย่อมสะดุ้ง ดังฝูงกาเหยี่ยวและเนื้อ วิ่ง
กระเจิงเพราะราชสีห์ฉะนั้น ผู้เป็นเจ้าคณะทั้งปวง ชน
ทั้งหลายเรียกว่าเป็นศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้น ย่อม

แสดงธรรมอันสืบ ๆ กันมาแก่บริษัท ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
ส่วนพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมแก่มวลสัตว์อย่างนั้น ตรัสรู้
สัจจะทั้งหลายและโพธิปักขิยธรรมด้วยพระองค์เองแล้ว
ทรงทราบอัธยาศัย กิเลส อินทรีย์ พละและมิใช่พละ
ทรงทราบภัพบุคคลและอภัพบุคคลแล้ว จึงทรงบันลือ
เหมือนมหาเมฆ บริษัทพึงนั่งอยู่เต็มตลอดที่สุดจักรวาล
มีทิฏฐิต่าง ๆ กัน คิดต่าง ๆ กัน เพื่อจะทรงตัดความ
สงสัยของบริษัทเหล่านั้น พระองค์ผู้เป็นมุนี ทรงทราบ
จิตของบริษัททั้งปวง ทรงฉลาดในข้ออุปมาตรัสแก้ปัญหา
ข้อเดียวเท่านั้น ก็ทรงตัดความสงสัยของสัตว์ทั้งปวงได้
แผ่นดินพึงเต็มด้วยต้นไม้ หญ้า (และมนุษย์) ทั้งหลาย
มนุษย์ทั้งหมดนั้น ประนมมืออัญชลีสรรเสริญพระองค์
ผู้นายกของโลก หรือว่าเขาเหล่านั้นสรรเสริญอยู่ตลอดกัป
พึงสรรเสริญด้วยคุณต่างๆ ก็ไม่สรรเสริญคุณให้สิ้นสุด
ประมาณได้ พระตถาคตเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้
ด้วยว่าพระมหาชินเจ้า อันใคร ๆ สรรเสริญแล้วด้วย
กำลังของตนเหมือนอย่างนั้น ชนทั้งหลายสรรเสริญจน
ที่สุดกัป ก็พึงสรรเสริญอย่างนี้ ๆ.

ถ้าแหละว่าใคร ๆ เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ผู้ศึกษาดี
แล้ว พึงสรรเสริญให้สุดประมาณ ผู้นั้นก็พึงได้ความ
ลำบากเท่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร มียศมาก

ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในศาสนาของพระองค์ ถึงที่สุดแห่ง
ปัญญาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้อยู่ ข้าพระองค์จะย่ำยี
พวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้าให้เป็นไป วันนี้
เป็นธรรมเสนาบดี ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ศากยบุตร กรรมที่ข้าพระองค์ทำแล้วหาประมาณมิได้
แสดงผลแก่ข้าพระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสได้แล้ว
ดังกำลังลูกศรพ้นดีแล้ว มนุษย์คนใดหนึ่ง เทิน (ทูน)
ของหนักไว้บนศีรษะเสมอ ต้องลำบากด้วยภาระฉันใด
อันภาระเราต้องแบกอยู่ก็ฉันนั้น เราถูกไฟ 3 กองเผาอยู่
เป็นทุกข์ด้วยการแบกภาระในภพ ท่องเที่ยวไปในภพ
ทั้งหลาย เหมือนถอนขุนเขาสิเนรุฉะนั้น. ก็ (บัดนี้ ) เรา
ปลงภาระลงแล้ว กำจัดภพทั้งหลายได้แล้ว กิจที่ควรทำ
ทุกอย่างในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าศากยบุตร เรา
ทำเสร็จแล้ว ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ศากยบุตร เราเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา
(ด้วยปัญญา) เราเป็นผู้ฉลาดดีในสมาธิ ถึงที่สุดแห่ง
ฤทธิ์ วันนี้เราปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันคนก็ได้ พระ-
มหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุบุพวิหารธรรม ตรัสคำ
สั่งสอนแก่เรา นิโรธเป็นที่นอนของเรา เรามีทิพยจักษุ
อันหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่นประกอบใน
สัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ อันกิจทุกอย่าง

ที่พระสาวกพึงทำ เราทำเสร็จแล้วแล เว้นพระโลกนาถ
แล้ว ไม่มีใครเสมอด้วยเรา เราเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ
ได้ฌานและวิโมกข์เร็วพลัน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์
ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ เราทั้งหลายมีความเคารพในอุดม
บุรุษ ด้วยการถูกต้องสาวกคุณ ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้
จิตของเราสงเคราะห์เพื่อนพรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ
เรามีมานะและความเขลา (กระด้าง) วางเสียแล้ว ดุจงู
ถูกถอนเขี้ยวแล้ว ดังโคอุสภราชถูกตัดเขาเสียแล้ว เข้า
ไปหาหมู่คณะด้วยคารวะหนัก ถ้าปัญญาของเราพึงมีรูป
ก็พึงเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่ง
การชมเชยพระญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
อโนมทัสสี เราย่อมยังธรรมจักรอันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ศากยบุตรผู้คงที่ ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ
นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณ บุคคลผู้มีความ
ปรารถนาลามก ผู้เกียจคร้าน ผู้ละความเพียร ผู้มีสุตะ
น้อย และผู้ไม่มีอาจาระอย่าได้สมาคมกับเราในที่ไหน ๆ
สักครั้งเลย ส่วนบุคคลผู้มีสุตะมาก ผู้มีเมธา ผู้ตั้งมั่น
อยู่ด้วยดีในศีลทั้งหลาย และผู้ประกอบด้วยสมถะทางใจ
ขอจงตั้งอยู่บนกระหม่อมของเรา เหตุนั้นเราจึงขอกล่าว
กะท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ผู้มา
ประชุมกันในสมาคมนี้ ท่านทั้งหลายจงมีความปรารถนา

น้อย สันโดษ ให้ทานทุกเมื่อ เราเป็นผู้ปราศจากธุลี
ปราศจากมลทิน เพราะเห็นท่านอัสสชิก่อน ท่านพระ-
สาวกนามว่าพระอัสสชินั้น เป็นอาจารย์ของเรา เป็น
นักปราชญ์ เราเป็นสาวกของท่านวันนี้ เราเป็นธรรม-
เสนาบดี ถึงที่สุดในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่
ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิ เป็นอาจารย์ของเราย่อมอยู่
ในทิศใด เราย่อมทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น (นอน
หันศีรษะไปทางทิศนั้น) พระโคดมศากยบุตรพุทธเจ้า
ทรงระลึกถึงกรรมของเราแล้ว ประทับนั่งใน (ท่ามกลาง)
ภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ เราเผากิเลส
ทั้งหลายได้แล้ว . . .ฯลฯ . . . พระพุทธศาสนาเราได้ทำ
เสร็จแล้วแล.

ก็ในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่พระอริยเจ้า
ในพระเชตวันมหาวิหาร เมื่อจะทรงตั้งเอตทัคคะด้วยคุณวิเศษนั้น ๆ แก่
พระสาวกของพระองค์ จึงทรงตั้งเอคทัคคะให้พระเถระ โดยความมี
ปัญญามากว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุสาวก
ทั้งหลายผู้มีปัญญามากของเรา.
พระสารีบุตรนั้น บรรลุถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณอย่างนั้นแล้ว
ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระธรรมเสนาบดี บำเพ็ญประโยชน์แก่ปวงสัตว์
วันหนึ่ง เมื่อจะพยากรณ์ความเป็นพระอรหัต โดยมุ่งจะแสดงความประ-
พฤติของตน แก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยศีล สงบระงับ มีสติ มีความดำริ
ชอบ ไม่ประมาท ยินดีแต่เฉพาะกัมมัฏฐานภาวนาอัน
เป็นธรรมภายใน มีใจมั่นคงอย่างยิ่ง อยู่ผู้เดียว ยินดี
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า
ภิกษุ.

ภิกษุเมื่อบริโภคอาหาร จะเป็นของสดหรือของแห้ง
ก็ตาม ไม่ควรติดใจจนเกินไป ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มี
อาหารพอประมาณ มีสติอยู่ การบริโภคอาหารยังอีก
4-5 คำจะอิ่ม ควรงดเสีย แล้วดื่มน้ำ เป็นการสมควร
เพื่ออยู่สบายของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

อนึ่ง การนุ่งห่มจีวรอันเป็นกัปปิยะ นับว่าเป็น
ประโยชน์ จัดว่าพอเป็นการอยู่สบายของภิกษุผู้มีใจ
เด็ดเดี่ยว การนั่งขัดสมาธิ นับว่าพอเป็นการอยู่สบาย
ของภิกษุผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

ภิกษุรูปใดพิจารณาเห็นความสุข โดยความเป็นทุกข์
พิจารณาเห็นความทุกข์ โดยความเป็นลูกศรปักอยู่ที่ร่าง
ความถือมั่นว่า เป็นตัวเป็นตนในอทุกขมสุขเวทนา ไม่ได้
มีแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด ด้วย
กิเลสอะไร ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามกเกียจคร้าน มี
ความเพียรเลวทราม ได้สดับน้อย ไม่เอื้อเฟื้อ อย่าได้
มาในสำนักของเรา แม้ในกาลไหน ๆ เลย จะมีประโยชน์

อะไรด้วยการให้โอวาทบุคคลเช่นนั้น ในหมู่สัตว์โลกนี้.
อนึ่ง ขอให้ภิกษุผู้เป็นพหูสูต เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่น
อยู่ในศีล ประกอบใจให้สงบระงับเป็นเนืองนิตย์ จงมา
ประดิษฐานอยู่บนศีรษะของเราเถิด.

ภิกษุใดประกอบด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้า ยินดีใน
ธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมพลาดนิพพาน อันเป็น
ธรรมเกษมอากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใดละ
ธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้แล้ว ยินดีในอริยมรรค อันเป็น
ทางไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ภิกษุนั้นย่อมบรรลุนิพพาน
อันเป็นธรรมเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม.

พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในสถานที่ใด เป็นบ้านหรือ
ป่าก็ตาม ที่ดอนหรือที่ลุ่มก็ตาม สถานที่นั้นเป็นภูมิ-
สถานที่น่ารื่นรมย์ คนผู้แสวงหากาม ย่อมไม่ยินดีในป่า
อันน่ารื่นรมย์เช่นใด ท่านผู้ปราศจากความกำหนัด จัก
ยินดีในป่าอันน่ารื่นรมย์เช่นนั้น เพราะท่านเหล่านั้นไม่
เป็นผู้แสวงหากาม.

บุคคลควรเห็นท่านผู้มีปัญญา ชี้โทษมีปกติกล่าวข่มขี่
เหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ควรคบบัณฑิตเช่นนั้น เพราะ
ว่าเมื่อคบกับบัณฑิตเช่นนั้น ย่อมมีแต่ความดี ไม่มีความ
ชั่วเลย นักปราชญ์ก็ควรโอวาทสั่งสอน ควรห้ามผู้อื่น
จากธรรมที่มิใช่ของสัตบุรุษ แต่บุคคลเห็นปานนั้น ย่อม

เป็นที่รักใคร่ของสัตบุรุษเท่านั้น ไม่เป็นที่รักใคร่ของ
อสัตบุรุษ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรู้แล้ว มีพระจักษุ ทรง
แสดงธรรมแก่ผู้อื่นอยู่ เมื่อพระองค์กำลังทรงแสดงธรรม
อยู่ เราผู้มุ่งประโยชน์ตั้งใจฟัง การตั้งใจฟังของเรานั้นไม่
ไร้ประโยชน์ เราเป็นผู้หมดอาสวะ เป็นผู้หลุดพ้นพิเศษ
เราไม่ได้ตั้งความปรารถนาเพื่อปุพเพนิวาสญาณ ทิพย-
จักษุญาณ เจโตปริยญาณ อิทธิวิธี จุตูปปาตญาณ ทิพ-
โสตญาณ อันเป็นธาตุบริสุทธิ์ มาแต่ปางก่อนเลย แต่
คุณธรรมของสาวกทั้งหมด ได้มีขึ้นแก่เรา พร้อมกับการ
บรรลุมรรคผล เหมือนคุณธรรม คือพระสัพพัญญุตญาณ
ได้มีแก่พระพุทธเจ้าฉะนั้น มียักษ์ตนหนึ่งมากล่าวว่า มี
ภิกษุหัวโล้นรูปหนึ่งชื่ออุปติสสะ เป็นพระเถระผู้อุดมด้วย
ปัญญา ห่มผ้าสังฆาฏินั่งเข้าฌานอยู่ที่โคนต้นไม้ สาวก
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้กำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตก
ในขณะถูกยักษ์ตีศีรษะ ก็ยังประกอบด้วยธรรมคือความ
นิ่งอย่างประเสริฐ ภูเขาหินล้วนตั้งมั่นไม่หวั่นไหวฉันใด
ภิกษุย่อมไม่หวั่นไหวเหมือนภูเขา เพราะสิ้นโมหะก็ฉัน-
นั้น ความชั่วช้าเพียงเท่าปลายขนทราย ย่อมปรากฏ
เหมือนเท่าก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า แก่ภิกษุผู้ไม่มี
กิเลสเครื่องยั่วยวน แสวงหาความสะอาดเป็นนิตย์ เรา

ไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต เราเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
จักละทิ้งร่างกายนี้ไป ไม่ยินดีต่อความตายและชีวิต รอ
คอยเวลาตายอยู่ เหมือนลูกจ้างรอให้หมดเวลาทำงาน
ฉะนั้น.

ความตายนี้มีแน่นอนใน 2 คราว คือในเวลาแก่
หรือในเวลาหนุ่ม ที่จะไม่ตายเลยย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น
ท่านทั้งหลายจงบำเพ็ญแต่สัมมาปฏิบัติเถิด ขอจงอย่าได้
ปฏิบัติผิด อย่าพินาศเสียเลย ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่าน
ทั้งหลายไปเสียเลย เมืองที่ตั้งอยู่ชายแดน เขาคุ้มครอง
ป้องกันดีทั้งภายนอกและภายในฉันใด ท่านทั้งหลายก็จง
คุ้มครองตนฉันนั้นเถิด ขณะอย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลาย
ไปเสีย เพราะผู้มีขณะอันล่วงเลยไปเสียแล้ว ต้องพากัน
ไปเศร้าโศกยัดเยียดอยู่ในนรก ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้น
โทษเครื่องเศร้าหมองใจได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วย
ปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมกำจัดบาปธรรมได้ เหมือนลม
พัดใบไม้ร่วงหล่นไปฉะนั้น.

ภิกษุผู้สงบระงับ งดเว้นจากโทษเครื่องเศร้าหมองใจ
ได้อย่างเด็ดขาด มีปกติพูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ได้
ลอยบาปธรรมเสียได้ เหมือนลมพัดใบไม้ร่วงหล่นไป
ฉะนั้น ภิกษุผู้สงบระงับ ละเว้นกองกิเลสและกองทุกข์
ที่เป็นเหตุทำให้เกิดความคับแค้น มีใจผ่องใสไม่ขุ่นมัว
มีศีลงาม เป็นนักปราชญ์ พึงทำที่สุดทุกข์ได้.

บุคคลไม่ควรคุ้นเคยในบุคคลบางพวก จะเป็นคฤหัสถ์
หรือบรรพชิตก็ตาม หรือเบื้องต้นเขาจะเป็นคนดี ตอน
ปลายเป็นคนไม่ดีก็ตาม.

นิวรณ์ 5 คือกามฉันทะ 1 พยาบาท 1 ถีนมิทธะ 1
อุทธัจจะ 1 วิจิกิจฉา 1 เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองจิต
สมาธิจิตของภิกษุผู้มีปกติ ชอบอยู่ด้วยความไม่ประมาท
ไม่หวั่นไหวด้วยเหตุ 2 ประการ คือด้วยมีสักการะ 1
ด้วยไม่มีสักการะ 1 นักปราชญ์เรียกบุคคลผู้เพ่งธรรม
อยู่เป็นปกติ พากเพียรเป็นเนืองนิตย์ พิจารณาเห็นด้วย
ปัญญาสุขุม สิ้นความยึดถือและความยินดีว่าเป็นสัตบุรุษ.

มหาสมุทร 1 แผ่นดิน 1 ภูเขา 1 และแม้ลม 1
ไม่ควรเปรียบเทียบความหลุดพ้นกิเลสอย่างประเสริฐของ
พระศาสดาเลย พระเถระผู้ยังพระธรรมจักรอันพระ-
ศาสดาให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม ผู้มีปัญญามาก
มีจิตมั่นคง เป็นผู้เสมอด้วยเผ่นดินและไฟ ย่อมไม่ยินดี
ยินร้าย.

ภิกษุผู้บรรลุปัญญาบารมีธรรมแล้ว มีปัญญาเครื่อง
ตรัสรู้มาก เป็นนักปราชญ์ผู้ใหญ่ ไม่ใช่เป็นคนเขลา
ทั้งไม่เหมือนคนเขลา เป็นผู้ดับความทุกข์ร้อนได้ทุกเมื่อ
ท่องเที่ยวไปอยู่ เรามีความคุ้นเคยกับพระศาสดามาก
เราทำคำสอนของพระพุทธเจ้าเสร็จแล้ว ปลงภาระหนัก

ลงได้แล้ว ถอนตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพได้แล้ว ท่าน
ทั้งหลาย จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด นี้เป็น
อนุสาสนีของเรา เราพ้นจากกิเลสทั้งปวงแล้ว จักปริ-
นิพพาน
ดังนี้.
จริงอยู่ คาถาบางคาถาเหล่านี้ พระเถระได้กล่าวไว้แล้ว, บางคาถา
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระเถระแล้วตรัสภาษิตไว้ คาถาหลังสุด
ได้เป็นคาถาของพระเถระเท่านั้น เพราะพระเถระได้กล่าวไว้ ด้วยมุ่งจะ
ประกาศความประพฤติของตน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาจารี ความว่า เป็นผู้สำรวมแล้ว
ด้วยการสำรวมทางกายเป็นต้น ประพฤติเป็นปกติอยู่, หรือชื่อว่า ยถาจาร
เพราะประพฤติปฏิบัติตามศีล คือสมบูรณ์ด้วยศีล.
บทว่า ยถาสโต ได้แก่ เป็นผู้สงบระงับ, อธิบายว่า จริงอยู่ ท่าน
แสดงไว้ เพราะลบเสียงที่เกิดทางจมูกเสีย เพื่อสะดวกแก่รูปคาถา ได้แก่
เป็นราวกะผู้สงบระงับ คือไม่มีความพิเศษไปจากพระอริยเจ้าทั้งหลายเลย.
บทว่า สตีมา ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยสติอย่างยิ่ง.
บทว่า ยตสงฺกปฺปชฺฌายี ได้แก่ เป็นผู้ละมิจฉาสังกัปปะได้โดย
ประการทั้งปวงแล้ว เป็นผู้มีความดำริอันสำรวมระวังแล้ว ด้วยอำนาจ
แห่งเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น คือเป็นผู้มีปกติเพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌาน
และลักขณูปนิชฌาน.
บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีความดำริอันบังคับให้เป็นไปใน
ความพระพฤติตามปกตินั้นนั่นแล และเป็นผู้เว้นขาดจากความประมาท
ด้วยการเพ่ง คือมีสติสัมปชัญญะตั้งมั่นด้วยดีในที่ทั้งปวง.

บทว่า อชฺฌตฺตรโต ได้แก่ ยินดีเฉพาะแต่กัมมัฏฐานภาวนา อัน
เป็นธรรมภายใน.
บทว่า สมาหิตตฺโต ได้แก่ ด้วยภาวนานั้นนั่นแหละ จึงมีจิตเป็น
หนึ่ง.
บทว่า เอโก ได้แก่ ไม่มีสหาย ละการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ และ
ละการคลุกคลีด้วยกิเลสแล้ว เพิ่มพูนกายวิเวกและจิตตวิเวก.
บทว่า สนฺตุสิโต ได้แก่ เป็นผู้สันโดษยินดีโดยชอบทีเดียว ด้วย
ความสันโดษด้วยปัจจัย และด้วยสันโดษยินดีในภาวนา. จริงอยู่ ปีติ-
ปราโมทย์อันโอฬาร ย่อมเกิดขึ้นเพราะการนำมาซึ่งคุณวิเศษชั้นสูง ๆ ขึ้น
ไปได้ด้วยภาวนา, แต่เพราะบรรลุถึงที่สุด จึงไม่มีคำที่จะต้องกล่าวถึง
เลย.
บทว่า ตมาหุ ภิกฺขุ ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น
คือผู้เห็นปานนั้นว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้เห็นภัย และเป็นผู้กำจัดกิเลสได้
เด็ดขาด เหตุเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยไตรสิกขา.
บัดนี้ เมื่อจะแสดงความสันโดษด้วยปัจจัย ในความสันโดษ 2
ประการ ตามที่กล่าวไว้แล้วก่อน จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อลฺลํ สุกฺขํ วา
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลฺลํ ได้แก่ เปียก คือละเอียด ด้วย
การบริโภคเนยใสเป็นต้น.
บทว่า สุกฺขํ ได้แก่ หยาบเพราะไม่มีสิ่งของอันละเอียด. วา ศัพท์
มีอรรถอันไม่แน่นอน คืออาหารจะเป็นของสด หรือของแห้งก็ตาม.

บทว่า พาฬฺหํ ได้แก่ จนเกินไป. บทว่า สุหิโต ความว่า ไม่
ควรให้เขาเลี้ยงดู. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า จะพึงเป็นอยู่อย่างไร ท่าน
จึงกล่าวว่า ควรเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ ดังนี้เป็นต้น
ความว่า ภิกษุบริโภคโภชนะอันประณีต หรือเศร้าหมองก็ตาม ไม่ได้
บริโภคตามต้องการแล้ว จะเป็นผู้มีท้องพร่อง มีท้องเบา, ต่อแต่นั้น
นั่นแหละ พึงเป็นผู้มีอาหารพอประมาณ คือรู้จักประมาณในโภชนะ นำ
เอาอาหารอันประกอบด้วยองค์ 8 มา เป็นผู้มีสติ ด้วยการรู้จักประมาณ
ในโภชนะนั้น และด้วยมีสติเป็นเครื่องพิจารณาในโภชนะนั้นอยู่.
ก็เพื่อจะแสดงอาการที่ชื่อว่าเป็นผู้มีท้องพร่อง มีอาหารพอประมาณ
ว่าเป็นอย่างไร ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า จตฺตาโร ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ความว่า พึงเว้นโอกาสแห่ง
อาหารที่จะอิ่ม ไม่บริโภคเหลือไว้อีก 4- 5 คำ แล้วดื่มน้ำเสีย. ก็ภิกษุนี้
ชื่อว่า เป็นผู้มีความประพฤติเบาใจในอาหาร. อธิบายว่า เป็นการสมควร
คือความต้องการเพื่ออยู่สำราญของภิกษุ ผู้มีจิตอันส่งมุ่งตรงพระนิพพาน
คือเพื่อความอยู่สุขสบาย เพราะประกอบด้วยการบรรลุฌานเป็นต้น. ด้วย
บทนี้ ท่านเมื่อจะกล่าวถึงบิณฑบาต ว่าเป็นเครื่องบริหารท้อง จึงแสดง
ถึงความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ในบิณฑบาตไว้. อีกอย่างหนึ่ง
ปาฐะว่า ภุตฺวาน ก็มี, ปาฐะนั้น พึงเป็นปาฐะที่ท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วย
อำนาจแห่งบุคคลที่มีความสามารถ คือมีปกติมั่นคงอย่างยิ่ง เพื่อจะยัง
สรีระให้เป็นไปด้วยอาหารแม้เพียง 4-5 คำก็ได้. ปาฐะนั้น ย่อมเทียบ
เคียงกันได้กับคาถาที่เหนือขึ้นไปนั่นแล เพราะเรื่องจีวรและเสนาสนะ
ส่วนที่เล็กน้อย ท่านจักกล่าวต่อไป.

บทว่า กปฺปิยํ ความว่า ซึ่งผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น อัน
อนุโลมกับสิ่งที่เป็นกัปปิยะอย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า ตญฺเจ ฉาเทติ ความว่า นุ่งห่มจีวรอันเป็นกัปปิยะ คือที่ที่
จะพึงนุ่งห่มให้เสมอ. อนึ่ง คือที่ที่มีอยู่ ในชาติที่พระศาสดาทรงอนุญาต
ไว้ คืออันประกอบด้วยประมาณ อันพระศาสดาทรงอนุญาตไว้ โดย
กำหนดเบื้องต่ำ.
บทว่า อิทมตฺถิกํ ได้แก่ เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์ตามที่
พระศาสดาตรัสไว้แล้ว, อธิบายว่า เพียงเพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น
และเพื่อปกปิดอวัยวะอันเป็นเหตุยังความละอายให้กำเริบ. ด้วยคำนั้น
ท่านกล่าวถึงจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และความสันโดษด้วยปัจจัยตามมี
ตามได้ ในจีวรนั้น.
บทว่า ปลฺลงฺเกน นิสินฺนสฺส ความว่า นั่งด้วยการนั่งวงขาโดยรอบ
ท่านเรียกว่า คู้บัลลังก์ คือนั่งคู้บัลลังก์สามแห่ง.
บทว่า ชณฺณุเก นาภิวสฺสติ ความว่า เมื่อภิกษุนั่งที่กุฏิอย่างนั้น
พอฝนตก น้ำฝนไม่เปียกเข่าทั้งสองข้าง, เสนาสนะแม้มีประมาณเท่านี้
จัดเป็นเสนาสนะท้ายสุด, จริงอยู่ กุลบุตรผู้ต้องการประโยชน์ นั่งใน
เสนาสนะนั้นแล้ว ก็สามารถจะทำประโยชน์ของตนให้สำเร็จได้. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า นับว่าพอเป็นการอยู่สบายของภิกษุ ผู้มีใจเด็ด
เดี่ยว
ดังนี้เป็นต้น.
พระเถระ ครั้นประกาศถึงโอวาทเครื่องขัดเขลาอย่างอุกฤษฏ์ยิ่งนัก
แก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีความมักมาก ไม่สันโดษ ด้วยคาถาทั้ง 4 คาถาเหล่านี้

อย่างนั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงถึงความสันโดษในการยินดีภาวนา โดย
มุ่งถึงเวทนา จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โย สุขํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ ได้แก่ สุขเวทนา. บทว่า ทุกฺขโต
ได้แก่ โดยความเป็นวิปริณามทุกข์.
บทว่า อทฺทา ได้แก่ ได้เห็นแล้ว, อธิบายว่า ผู้ที่ได้เห็นแล้วตาม
ความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา. จริงอยู่
สุขเวทนา แม้จะให้ความสบายใจในเวลาบริโภค แต่ก็เป็นทุกข์อยู่นั่นเอง
ในเวลาที่แปรปรวน เหมือนโภชนะที่เจือปนด้วยยาพิษฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงแสดงถึงการพิจารณาในข้อนั้นว่า เป็นทุกข์.
บทว่า ทุกฺขมทฺทกฺขิ สลฺลโต ความว่า ผู้ที่พิจารณาเห็นทุกข-
เวทนาว่า เป็นลูกศร. จริงอยู่ ทุกขเวทนา จะเกิดขึ้นก็ตาม จะถึงความ
ตั้งอยู่ก็ตาม จะแตกสลายไปก็ตาม ชื่อว่าย่อมเบียดเบียนเสมอทีเดียว
เปรียบเหมือนลูกศรปักอยู่ที่ร่างกาย ติดอยู่ก็ตาม ถูกถอนออกก็ตาม ก็ย่อม
เกิดเป็นการเบียดเบียนอยู่นั่นเอง. ด้วยคำนั้น ท่านจึงยกถึงการพิจารณา
เห็นในสรีระนั้นว่า เป็นทุกข์ ขึ้นกล่าวไว้, ด้วยเหตุนั้น จึงยึดถือว่าเป็นตัว
เป็นตน ในเวทนาทั้งสอง เพราะคำว่า ความทุกข์เป็นอนัตตา ดังนี้
เป็นต้น.
บทว่า อุภยนฺตเรน ความว่า ในระหว่างเวทนาทั้งสอง คือใน
อทุกขมสุขเวทนา อันมีในท่ามกลางแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา.
บทว่า นาโหสิ ความว่า ได้มีความยึดมั่นว่าเป็นตัวเป็นคน ใน
การตรัสรู้ตามความเป็นจริง.

บทว่า เกน โลกสฺมิ กึ สิยา ความว่า ภิกษุกำหนดรู้อุปาทาน-
ขันธ์ทั้ง 5 โดยมุ่งถึงเวทนาอย่างนั้นแล้ว ถอนขึ้นเด็ดขาดซึ่งข่ายคือ
กิเลสทั้งสิ้น ที่เนื่องด้วยอุปาทานขันธ์นั้นได้ดำรงอยู่ จะพึงติดอยู่ในโลก
ด้วยกิเลสชื่อไรเล่า, อีกอย่างหนึ่ง อนาคตที่จะเกิดในเทวดาเป็นต้น จะพึง
มีอย่างไรเล่า, อธิบายว่า โดยที่แท้ ผู้มีเครื่องผูกพันอันตัดเสียแล้ว พึง
เป็นผู้ไม่ติดในบัญญัติทีเดียว.
บัดนี้ พระเถระเมื่อจะติเตียนบุคคลผู้ปฏิบัติผิด และสรรเสริญบุคคล
ผู้ปฏิบัติชอบ จึงกล่าวคาถา 4 คาถามีคำว่า มา เม ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ ความว่า ผู้ที่
ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะปรารถนาจะยกย่องคุณความดีที่ไม่มี
ในตน, ชื่อว่าผู้เกียจคร้าน เพราะไม่มีความอุตสาหะในสมณธรรม, เพราะ
ความเกียจคร้านนั้นนั่นแหละ จึงชื่อว่า ผู้มีความเพียรเลวทราม, ชื่อว่า
ผู้สดับน้อย เพราะไม่มีการสดับฟัง อันเกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องสัจจะและ
ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น, ชื่อว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน
โอวาทานุสาสนี, บุคคลผู้เลวทรามเช่นนั้น ขออย่าได้มีในสำนักของเรา
ในกาลไหน ๆ เลย.
เพราะเหตุไร ? เพราะจะพึงติดอยู่ในโลกอย่างใด, อธิบายว่า
โอวาทอะไรในนิกาย 7 ในโลก จะพึงมีแก่บุคคลนั้น คือผู้เช่นนั้น, อีก
อย่างหนึ่ง เขาจะพึงทำอะไรที่ทำแล้ว คือหาประโยชน์มีได้.
บทว่า พหุสฺสุโต จ ความว่า บุคคลผู้ที่มีพหุสสุตะ เพราะมีการสดับ
มากอันต่างโดยประเภทมีสุตตะและเคยยะเป็นต้น ที่เกี่ยวเนื่องด้วยศีลเป็น
อาทิ, ชื่อว่ามีเมธา ก็ด้วยอำนาจแห่งปัญญาที่เกิดแต่ธรรม ปริหาริย-

ปัญญาและปฏิเวธปัญญา, ชื่อว่าตั้งมั่นด้วยดี เพราะตั้งมั่นด้วยดีในศีล
ทั้งหลาย, ชื่อว่าประกอบใจให้สงบ คือมีจิตตั้งมั่น อันต่างด้วยประเภท
แห่งโลกิยะและโลกุตระ, บุคคลเช่นนั้น แม้จะดำรงอยู่บนศีรษะของเรา
ก็ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงการอยู่ร่วมกัน.
บทว่า โย ปปญฺจมนุยุตฺโต ความว่า ก็บุคคลใดประกอบด้วย
ธรรมเครื่องเนิ่นช้า มีตัณหาเป็นต้นเป็นประเภท เพราะอรรถว่า เป็น
ธรรมเครื่องเนิ่นช้า เหตุเป็นไปด้วยความเป็นผู้ยินดีในการงานเป็นต้น
และด้วยการเกี่ยวข้องด้วยรูปเป็นต้น และเป็นผู้ยินดียิ่ง เพราะมองไม่เห็น
โทษในธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น เป็นเช่นกับผู้ยังแสวงหา, บุคคลนั้นย่อม
พลาดจากพระนิพพาน, คือดำรงอยู่ไกลแสนไกลจากพระนิพพาน.
บทว่า โย จ ปปญฺจํ หิตฺวาน ความว่า ฝ่ายบุคคลใด ละธรรม
เครื่องเนิ่นช้า คือตัณหาเสียได้ ยินดีในหนทาง คือในอุบายเครื่องบรรลุ
พระนิพพาน อันเป็นธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า เพราะไม่มีปปัญจธรรมนั้น
ได้แก่อริยมรรค, ยินดียิ่งในการตรัสรู้ภาวนา บุคคลนั้นย่อมยินดีพระ-
นิพพาน ย่อมสำเร็จพระนิพพาน ได้แก่ ย่อมบรรลุพระนิพพาน.
ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเห็นว่าพระเรวตเถระผู้น้องชายของตน อยู่
ในถิ่นที่กันดาร ไม่มีน้ำ ปกคลุมด้วยต้นไม้ตะเคียนหนาแน่นไปด้วยหนาม
เมื่อจะสรรเสริญท่าน จึงได้กล่าวคาถา 2 คาถาว่า คาเม วา ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาเม วา ความว่า พระอรหันต์
ทั้งหลาย แม้จะไม่ได้กายวิเวกในที่ละแวกบ้านก็จริง ถึงกระนั้นท่านก็ได้

จิตตวิเวกทีเดียว. จริงอยู่ อารมณ์ทั้งหลาย แม้จะมีส่วนเปรียบด้วยอารมณ์
ทิพย์ ก็ไม่สามารถจะทำจิตของพระอรหันต์ทั้งหลายเหล่านั้นให้หวั่นไหว
ได้เลย, เพราะฉะนั้น พระอรหันต์จะอยู่ในบ้านหรือในป่าเป็นต้น ที่ใด
ที่หนึ่งก็ตาม เพราะพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมอยู่ในที่ใด สถานที่นั้น
ย่อมเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์
คือภูมิประเทศนั้นย่อมเป็นที่น่ารื่นรมย์ใจ
ทีเดียว.
บทว่า อรญฺญานิ สัมพันธ์ความว่า ป่า อันสมบูรณ์ด้วยน้ำและที่
อาศัยอันสะอาด ประดับประดาด้วยหมู่ไม้ไพรสณฑ์ ผลิดอกเผล็ดผล
งดงาม ชื่อว่า สถานที่น่ารื่นรมย์ใจ.
บทว่า ยตฺถ ความว่า ชนผู้ฝักใฝ่ในกาม แสวงหากาม ย่อมไม่
ยินดีในสถานที่รื่นรมย์ ดุจในป่าที่มีดอกไม้แย้มบาน.
บทว่า วีตราคา ความว่า ฝ่ายพระขีณาสพทั้งหลายผู้มีราคะไปปราศ
แล้ว จักรื่นรมย์ในป่าเช่นนั้น ดุจฝูงภมรและผึ้ง ยินดีในสวนดอกปทุม
ฉะนั้น.
บทว่า น เต กามคเวสิโน ความว่า เพราะผู้มีราคะไปปราศแล้ว
เหล่านั้น ย่อมไม่มีการแสวงหากาม.
พระเถระอาศัยความอนุเคราะห์ จึงให้พราหมณ์ทุคตะชื่อว่า ราธะ
บรรพชาแล้วให้อุปสมบทอีก ทำราธะนั้นนั่นแหละให้เป็นปัจฉาสมณะ
เที่ยวไป วันหนึ่ง เมื่อจะให้โอวาทชมเชยราธภิกษุนั้นว่า เป็นผู้ว่าง่าย
จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นิธีนํว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีนํว ได้แก่ หม้อคือขุมทรัพย์ ที่เต็ม
ด้วยวัตถุน่าปลื้มใจ มีเงินและทองคำเป็นต้น ที่เขาฝั่งเก็บไว้ในที่นั้น ๆ.

บทว่า ปวตฺตารํ ความว่า กระทำการอนุเคราะห์ แนะนำที่ฝั่ง
ขุมทรัพย์ กะหมู่คนขัดสนมีชีวิตยากจนว่า มานี่แน่ะ เราจักชี้แนะอุบาย
เพื่อเป็นอยู่สุขสบายแก่เจ้า ดังนี้แล้ว เหยียดแขน ราวกะบอกว่า เจ้าจง
ถือเอาทรัพย์สมบัตินี้แล้ว จงเป็นอยู่ให้สุขสบายเถิด.
บทว่า วชฺชทสฺสินํ ความว่า ผู้ชี้โทษมี 2 ลักษณะ คือการแสวง
หาโทษด้วยคิดว่า เราจักข่มขี่บุคคลนั้น ด้วยสิ่งอันไม่สมควรนี้ หรือด้วย
ความพลั้งพลาดนี้ ในท่ามกลางสงฆ์ และผู้ประสงค์จะให้คนที่ไม่รู้เรื่อง
ได้รับรู้ ให้คนที่รู้เรื่องแล้ว ยินดีพอใจ มองดูความผิดนั้นๆ ตั้งเขาไว้
แล้วในสภาวะที่ยกย่องช่วยเหลือ เพราะมุ่งถึงความเจริญด้วยคุณมีศีล
เป็นต้น, ข้อนี้ท่านประสงค์ถึงในที่นี้.
เหมือนอย่างคนขัดสน แม้ถูกข่มขู่ว่า เจ้าจงถือเอาขุมทรัพย์นี้ ดังนี้
ย่อมไม่ทำความโกรธ ในเพราะการชี้แนะขุมทรัพย์ แต่กลับชื่นชมยินดี
ฉันใด ในบุคคลเห็นปานนั้นก็ฉันนั้น เห็นสิ่งไม่สมควร หรือความพลั้ง
พลาดแล้วบอกให้ บุคคลไม่ควรทำความโกรธเลย แต่พึงมีจิตยินดีรับ
เท่านั้น, และพึงปวารณาตลอดไปว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านพึงบอกสิ่งที่
สมควรกะผมอีกนะ.
บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ ความว่า บุคคลใดเห็นโทษแล้ว ไม่คิดว่าผู้นี้
เป็นสัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ของเรา, เป็นผู้มีอุปการะคุณแก่เรา ดังนี้
ข่มขู่ตามสมควรแก่ความผิด ประฌาม กระทำทัณฑกรรม ให้ยอมรับรู้,
บุคคลนี้ ชื่อว่านิคคัยหวาที เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฉะนั้น.
สมดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า1 ดูก่อนอานนท์ เราจักข่มแล้ว ๆ จึงบอก

1. ม. อุปริ. 14/ข้อ 356.

ดูก่อนอานนท์ เราจักยกย่องแล้ว ๆ จึงบอก, ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจัก
ดำรงอยู่ได้.
บทว่า เมธาวึ ได้แก่ ประกอบพร้อมด้วยปัญญามีรสอันเกิดแต่
ธรรม.
บทว่า ตาทิสํ ได้แก่ บัณฑิตผู้เห็นปานนั้น.
บทว่า ภเช แปลว่า พึงเข้าไปนั่งใกล้, อธิบายว่า จริงอยู่
อันเตวาสิกผู้คบหาอาจารย์เช่นนั้น ย่อมมีแต่ความประเสริฐ, ไม่มีความเลว
ทราม มีแต่ความเจริญถ่ายเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ในกาลครั้งหนึ่ง พระธรรมเสนาบดีรับพระดำรัสสั่งจากพระศาสดา
ในเรื่องอาวาสที่กีฏาคิรีชนบท ถูกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะประทุษ-
ร้าย จึงพร้อมกับบริษัทของตนและพระมหาโมคคัลลานะ ไปยังที่นั้นแล้ว
เมื่อพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะ ไม่ทำความเอื้อเฟื้อต่อโอวาท จึงกล่าว
คาถานี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวเทยฺย ความว่า พึงให้โอวาท
คือคำพร่ำสอน.
คำว่า อนุสาเสยฺย เป็นคำกล่าวโดยอ้อมแห่งคำว่า โอวเทยฺย นั้น
นั่นเอง, อธิบายว่า อีกอย่างหนึ่ง เมื่อมีเรื่องเกิดขึ้นแล้ว จึงพูดบอก ชื่อว่า
ย่อมกล่าวสอน, เมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น พูดบอกมุ่งถึงอนาคตกาล เป็นต้น
ว่า แม้ความเสื่อมยศพึงมีแก่ท่าน ดังนี้ ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน. อีกอย่างหนึ่ง
พูดบอกต่อหน้า ชื่อว่าย่อมกล่าวสอน. ส่งทูตหรือส่งสาสน์ไปพูดบอก
ลับหลัง ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน. อีกอย่างหนึ่ง พูดบอกครั้งเดียว ชื่อว่า
ย่อมกล่าวสอน, พูดบอกบ่อย ๆ ชื่อว่าย่อมพร่ำสอน.

บทว่า อสพฺภา จ ความว่า พึงห้ามอกุศลธรรม และพึงให้ตั้งมั่น
อยู่ในกุศลธรรม.
บทว่า สตํ หิ โส ความว่า บุคคลผู้เห็นปานนั้น ย่อมเป็นที่รัก
ของสาธุชนทั้งหลาย. บุคคลนั้น ผู้สั่งสอน ผู้พร่ำสอน บุคคลผู้ไม่สงบ
ไม่เป็นสัปบุรุษ ยังไม่ข้ามพ้นโลกหน้า มีจักษุเพ่งอามิส บวชเพื่อเลี้ยง
ชีวิตเหล่านั้น ย่อมไม่เป็นที่รักของบุคคลผู้ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากอย่าง
นี้ว่า ท่านไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ของพวกเรา ท่านไม่ใช่อาจารย์ของพวกเรา
ท่านกล่าวสอนพวกเราเพราะอะไร ดังนี้.
เพราะถ้อยคำที่ยกขึ้นกล่าวในหมู่ภิกษุว่า พระศาสดาทรงปรารภ
ผู้ใดแสดงธรรม ผู้นั้นแหละเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ดังนี้ พระเถระ
เมื่อจะแสดงว่า ข้อนี้นั้นไม่ถูกต้อง จึงกล่าวคาถาว่า อญฺญสฺส ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญสฺส ความว่า พระศาสดาตรัส
หมายถึงทีฆนขปริพาชก ผู้เป็นหลานชายของตน. จริงอยู่ เมื่อพระ-
ศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตรแก่เขา พระมหาเถระนี้บรรลุมรรค-
ภาวนา ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณได้.
บทว่า โสตโมเธสิมตฺถิโก ความว่า เราเป็นผู้มุ่งประโยชน์ ยืน
ถวายงานพัดพระศาสดา เงี่ยโสตตั้งใจฟัง.
บทว่า ตํ เม อโมฆํ สวนํ ความว่า การตั้งใจสดับฟังของเรานั้น
ไม่ว่างเปล่า คือได้เป็นที่พึ่งแก่สมบัติทั้งหลาย ซึ่งอัครสาวกพึงถึง. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิมุตฺโตมฺหิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว ปุพฺเพนิวาสาย มีวาจาประกอบ
ความว่า การตั้งปณิธานไม่ได้มีแก่เรา เพื่อประโยชน์แก่ญาณที่จะรู้ถึงที่
เคยอยู่ในกาลก่อน ของตนและของผู้อื่นเลย. อธิบายว่า แม้เพียงการตั้ง
ปณิธานไว้ในใจ ด้วยการทำบริกรรม เพื่อประโยชน์นั้นย่อมไม่มี คือ
ไม่ได้มีแล้ว.
บทว่า เจโตปริยาย แปลว่า เพื่อเจโตปริยญาณ.
บทว่า อิทฺธิยา แปลว่า เพื่ออิทธิวิธญาณ.
บทว่า จุติยา อุปปตฺติยา ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่จุตูปปาตญาณ
เครื่องหยั่งรู้การจุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.
บทว่า โสตธาตุวิสุทฺธิยา แปลว่า เพื่อทิพโสตญาณ.
บทว่า ปณิธี เม น วิชฺชติ ความว่า ปณิธานแห่งจิต คือการ
บำเพ็ญทางใจ ด้วยการบริกรรม เพื่อประโยชน์แก่อภิญญาและคุณวิเศษ
เหล่านี้ ย่อมไม่มี คือไม่ได้มีแล้วแก่เรา. จริงอยู่ คุณของพระสาวก
ทั้งหมด จะมีอยู่ในเงื้อมมือของพระสาวกทั้งหลายได้ ก็ด้วยการบรรลุ
อริยมรรคเท่านั้น ดุจคุณคือพระสัพพัญญู มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ฉะนั้น, เพราะการบรรลุของพระสาวกเหล่านั้น จึงไม่มีหน้าที่ที่จะทำ
บริกรรมเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก.
คาถา 3 คาถาที่เริ่มต้นว่า รุกฺขมูลํ ดังนี้ พระเถระกล่าวมุ่งแสดง
ถึงความไม่หวั่นไหวแห่งตน ผู้อยู่ในกโปตกันทรวิหาร ในเวลาถูกยักษ์
ประหาร ด้วยพลังแห่งสมาบัติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺโฑ ได้แก่ ปลงผมแล้วใหม่ ๆ.

บทว่า สงฺฆาฏิปารุโต ได้แก่ ห่มผ้าสังฆาฏินั่งแล้ว. และอาจารย์
ทั้งหลายกล่าวว่า ห่มเรียบร้อยด้วยผ้าสังฆาฏิ.
บทว่า ปญฺญาย อุตฺตโม เถโร ความว่า เป็นพระเถระผู้อุดมด้วย
ปัญญา คือเป็นผู้ประเสริฐกว่าพระสาวกทั้งหลายด้วยปัญญา.
บทว่า ฌายติ ความว่า ย่อมเพ่งด้วยอารัมมณูปนิชฌาน และ
ลักขณูปนิชฌาน คืออยู่ด้วยสมาบัติโดยมาก.
บทว่า อุเปโต โหติ ตาวเท ความว่า ผู้ที่ถูกยักษ์ประหารที่ศีรษะ
ในขณะกำลังเข้าสมาบัติอันไม่มีวิตก คือผลสมาบัติอันประกอบด้วยจตุตถ-
ฌานก็ยังเข้าถึง คือประกอบพร้อมด้วยธรรมคือความนิ่งอย่างประเสริฐ.
ก็คำว่า โหติ นี้ เป็นคำบ่งถึงปัจจุบันกาล ซึ่งใช้ในอรรถแห่งอดีตกาล.
บทว่า ปพฺพโตว น เวธติ ความว่า เพราะสิ้นโมหะ ภิกษุจึง
ทำลายกิเลสทั้งหมดได้ ไม่หวั่นไหว คือตั้งมั่นด้วยดี เหมือนภูเขาหินล้วน
ย่อมไม่หวั่นไหว ด้วยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น คือ
เป็นผู้คงที่ในอารมณ์ทั้งปวง.
ครั้นวันหนึ่ง เมื่อชายผ้านุ่งของพระเถระห้อยย้อยลงโดยมิได้รู้ตัว
สามเณรรูปหนึ่งจึงเตือนว่า ท่านควรนุ่งห่มเป็นปริมณฑลซิขอรับ. พระ-
เถระครั้นได้ฟังคำนั้นแล้ว รับดุจด้วยเศียรเกล้าว่า คำอันเจริญ เธอกล่าว
ดีแล้ว ในขณะนั้นนั่นเองจึงหลีกไปหน่อยหนึ่งแล้วนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล
เมื่อจะแสดงว่า แม้สิ่งนี้ก็นับว่าเป็นโทษแก่คนเช่นกับเรา ดังนี้ จึงกล่าว
คาถาว่า อนงฺคณสฺส ดังนี้เป็นต้น.
พระเถระ เมื่อจะแสดงว่าคนมีความคิดเสมอกันในความตายและ
ชีวิตซ้ำอีก จึงกล่าวคาถา 2 คาถา โดยเริ่มต้นว่า นาภินนฺทามิ ดังนี้

และเมื่อจะแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่น จึงกล่าวคาถา 2 คาถา โดยเริ่มต้น
ว่า อุภเยน มิทํ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภเยน แปลว่า ในสองคราว, อธิบาย
ว่า ในกาลทั้งสอง.
บทว่า มิทํ ได้แก่ อักษร กระทำการเชื่อมบท. อธิบายว่า
ความตายนี้เท่านั้น, ชื่อว่าความตายย่อมมีอยู่แน่นอน, ความไม่ตายไม่มี.
เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ในสองคราวเป็นอย่างไร ? ท่านจึงกล่าวว่า ในเวลา
แก่หรือในเวลาหนุ่ม ความว่า ในเวลาแก่เริ่มแต่มัชฌิมวัย คือในเวลา
สังขารชราทรุดโทรม หรือในเวลาหนุ่ม คือในกาลเป็นหนุ่ม ความตาย
เท่านั้น ย่อมมีแน่นอน. เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญ คือจง
ทำสัมมาปฏิบัติให้บริบูรณ์เถิด จงอย่าได้ปฏิบัติผิดให้พินาศเลย คือจงอย่า
ได้เสวยทุกข์อย่างใหญ่หลวงในอบายทั้งหลายเลย.
บทว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า เพราะเว้นจากอักขณะ 8
ขณะที่ 9 นี้ อย่าได้ล่วงเลยท่านทั้งหลายไปเสีย.
ครั้นวันหนึ่ง พระเถระเห็นท่านพระมหาโกฏฐิกะแล้ว เมื่อจะ
ประกาศคุณของท่าน จึงได้กล่าวคาถา 3 คาถา โดยเริ่มต้นว่า อุปสนฺโต
ดังนี้.
คำว่า ธุนาติ ท่านกล่าวไว้ โดยมิได้มุ่งหมายถึงความในข้อนั้น
เลย ท่านเมื่อจะกล่าวอิงอาศัยพระเถระอีก จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า อปฺปาสิ
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปาสิ ความว่า ละแล้วไม่นาน.

บทว่า อนายาโส ความว่า ไม่มีความดิ้นรน คือปราศจากทุกข์
คือกิเลส.
บทว่า วิปฺปสนฺโน อนาวิโล ความว่า มีความผ่องใส คือมีจิต
ผ่องใสด้วยดี เพราะไม่มีความไม่เชื่อเป็นต้น ชื่อว่าไม่ขุ่นมัว เพราะมี
ความดำริไม่ขุ่นมัว.
คาถาว่า น วิสฺสเส ท่านกล่าวปรารภพวกพระวัชชีบุตร ผู้เชื่อ
พระเทวทัต ชอบใจทิฏฐิของพระเทวทัตนั้นแล้ว ดำรงอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วิสฺสเส ความว่า ไม่พึงคุ้นเคย คือ
ไม่พึงเชื่อ.
บทว่า เอกติเยสุ ความว่า ในปุถุชนผู้มีสภาวะไม่มั่นคงบางพวก.
บทว่า เอวํ ความว่า เหมือนท่านทั้งหลายถึงความคุ้นเคยว่า พระ-
เทวทัตเป็นผู้ปฏิบัติชอบ.
บทว่า อคาริสุ แปลว่า ในหมู่คฤหัสถ์.
บทว่า สาธูปิ หุตฺวาน ความว่า เพราะขึ้นชื่อว่า ความเป็นปุถุชน
ย่อมเป็นผู้มีความไม่มั่นคง เหมือนหม้อน้ำที่ตั้งอยู่บนหลังม้า และเหมือน
ตอไม้ที่ฝั่งลงในกองแกลบฉะนั้น คนบางพวกตอนต้นเป็นคนดี อยู่
ต่อมาตอนปลายเป็นคนไม่ดี.
อธิบายว่า เหมือนพระเทวทัต ในตอนต้นสมบูรณ์ด้วยศีล เป็น
ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ แต่ถูกลาภและสักการะเข้าครอบงำ บัดนี้ จึงเสื่อมจาก
คุณวิเศษเหมือนกาปีกหัก เป็นผู้ไปเกิดในอบาย เพราะฉะนั้น คนเช่นนั้น
ไม่ควรคุ้นเคยว่า เป็นคนดี เพราะเพียงแต่ได้เห็นกันเท่านั้น. ส่วนคน
บางพวกถึงตอนต้นจะเป็นคนไม่ดี เพราะไม่คบหากัลยาณมิตร แต่ตอน

ปลายกลับตนเป็นคนดีได้ เพราะคบหากัลยาณมิตร เพราะฉะนั้น จึงไม่
ควรคุ้นเคยกับคนดีเทียม ๆ เยี่ยงพระเทวทัตว่าเป็นคนดีเลย.
คนซึ่งมีอุปกิเลสภายในใจ มีกามฉันทะเป็นต้น ยังไม่ไปปราศ
ชื่อว่าคนไม่ดี. เมื่อจะแสดงถึงคนที่มีอุปกิเลสไปปราศแล้วว่า เป็นคนดี
ท่านจึงกล่าวคาถาว่า กามจฺฉนฺโท ดังนี้เป็นต้น และเพื่อจะแสดงถึง
ลักษณะของคนดีชั้นสูงสุดโดยไม่ทั่วไป ท่านจึงกล่าวคาถา 2 คาถา โดย
เริ่มต้นว่า ยสฺส สกฺกริยมานสฺส ดังนี้.
ก็เพื่อจะแสดงถึงคนดีชั้นสูงสุด โดยไม่ทั่วไป จึงยกพระศาสดาและ
ตนขึ้นเป็นอุทาหรณ์ กล่าวคาถาเริ่มต้นว่า มหาสมุทฺโท ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหาสมุทฺโท ความว่า มหาสมุทร
มหาปฐพี หิน คือภูเขาและลม โดยประเภทที่พัดมาจากทิศตะวันออก
เป็นต้น ย่อมทนได้ต่ออิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เพราะเป็นสภาวะไม่มี
เจตนา มิใช่อดทนได้ เพราะกำลังคือความพิจารณาใคร่ครวญ, ส่วน
พระศาสดาทรงดำรงอยู่ในความเป็นผู้คงที่ ชั้นยอดเยี่ยม ด้วยอำนาจ
บรรลุถึงพระอรหัต จึงมีความเสมอ ไม่มีความหวั่นไหวในอารมณ์ทั้งปวง
มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น, มหาสมุทรเป็นต้นเหล่านั้น จึงไม่ควรเปรียบเทียบ
กับความหลุดพ้นอย่างประเสริฐ คือหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอรหัตผลของ
พระศาสดาได้เลย คือย่อมไม่ถึงแม้ทั้งเสี้ยวและทั้งส่วน.
บทว่า จกฺกานุวตฺตโก ได้แก่ ผู้ยังพระธรรมจักรอันพระศาสดาให้
เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตาม.
บทว่า เถโร ได้แก่ เป็นพระเถระ เพราะเป็นพระอเสขะ คือ
ประกอบพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น.

บทว่า มหาญาณี แปลว่า มีปัญญามาก.
บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีความตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิและอัปปปนา-
สมาธิ และอนุตรสมาธิ.
บทว่า ปฐวาปคฺคิสมาโน ความว่า เป็นผู้ประพฤติเช่นกับแผ่นดิน
น้ำ และไฟ เพราะตนเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ในเมื่อประจวบกับ
อารมณ์มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ย่อมไม่ยินดี
ย่อมไม่ยินร้าย ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ปญฺญาปารมิตํ ปตฺโต โดยความว่า ถึงฝั่งแห่งสาวกญาณ คือถึง
ที่สุดแห่งฝั่งแล้ว.
บทว่า มหาพุทฺธิ ได้แก่ ประกอบพร้อมไปด้วยปัญญา ที่ชื่อว่า
พุทธิ เพราะกว้างขวาง เหตุบรรลุถึงความเป็นผู้มีปัญญามาก กว้างขวาง
ร่าเริง เร็วไว แหลมคม และเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.
บทว่า มหามติ ได้แก่ ประกอบพร้อมไปด้วยความรู้จักคาดหมาย
นัยอันสำคัญยิ่ง คือรู้อนุโลมตามธรรมแล้ว. จริงอยู่ พระมหาเถระนี้
ประกอบด้วยคุณวิเศษเช่นมีปัญญามากเป็นต้น เพราะท่านบรรลุถึงคุณ
ทั้งหมดไม่มีส่วนเหลือ ยิ่งกว่าท่านผู้มีประเภทแห่งปัญญา เป็น 4 ส่วน
16 ส่วน 44 ส่วน และ 73 ส่วน จึงสมควรที่จะเรียกว่า มหาพุทธิ
ผู้มีปัญญามากยิ่งนัก, เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า:-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นบัณฑิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญามาก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง


1. ม. อุ. 14/ข้อ 154.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาว่องไว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาแหลมคม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้มีปัญญาเครื่อง

ชำแรกกิเลส ดังนี้เป็นต้น.
บัณฑิตพึงทราบความรู้อย่างแจ่มแจ้ง ในส่วนแห่งความเป็นบัณฑิต
เป็นต้น ในข้อนั้นดังต่อไปนี้ :- บุคคลจะเป็นบัณฑิตก็ด้วยเหตุ 4 ประการ
เหล่านี้ คือความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ความเป็นผู้ฉลาดในอายตนะ ความ
เป็นผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท และความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะ
ดังนี้.
ในการแสดงวิภาคแห่งความเป็นผู้มีปัญญามากเป็นต้น มีพระบาลี
ดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า ปัญญาใหญ่เป็นไฉน1 ? ชื่อว่า ปัญญาใหญ่
เพราะอรรถว่า กำหนดอรรถใหญ่, กำหนดธรรมใหญ่.
กำหนดนิรุตติใหญ่, กำหนดปฏิภาณใหญ่, กำหนดศีลขันธ์
ใหญ่, กำหนดสมาธิขันธ์ใหญ่, กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่,
กำหนดวิมุตติขันธ์ใหญ่, กำหนดวิมุตติญาณทัสสนขันธ์
ใหญ่, กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่, กำหนดวิหารสมา-
บัติใหญ่, กำหนดอริยสัจใหญ่, กำหนดสติปัฏฐานใหญ่,
กำหนดสัมมัปปธานใหญ่, กำหนดอิทธิบาทใหญ่, กำหนด
อินทรีย์ใหญ่, กำหนดพละใหญ่, กำหนดโพชฌงค์ใหญ่,
กำหนดอริยมรรคใหญ่, กำหนดสามัญญผลใหญ่ , กำหนด


1. ขุ. ป. 31/ ข้อ 665.

อภิญญาใหญ่ กำหนดนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ใหญ่ นี้เป็นปัญญาใหญ่.

ปุถุปัญญา1เป็นไฉน ? ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถ
ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่าง ๆ มา ในธาตุต่าง ๆ มาก
ในอายตนะต่าง ๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่าง ๆ มาก
ในความได้เนื่อง ๆ ซึ่งความสูญต่าง ๆ มาก ในอรรถ
ต่าง ๆ มาก ในธรรมต่าง ๆ มาก ในนิรุตติต่าง ๆ มา
ในปฏิภาณต่าง ๆ มาก ในศีลขันธ์ต่าง ๆ มาก ในสมาธิ-
ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติ-
ขันธ์ต่าง ๆ มาก ในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ต่าง ๆ มาก
ในฐานะและอฐานะต่าง ๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่าง ๆ
มาก ในอริยสัจต่าง ๆ มาก ในสติปัฏฐานต่าง ๆ มาก
ในสัมมัปปธานต่าง ๆ มาก ในอิทธิบาทต่าง ๆ มาก ใน
อินทรีย์ต่าง ๆ มาก ในพละต่าง ๆ มาก ในโพชฌงค์
ต่าง ๆ มาก ในอริยมรรคต่าง ๆ มาก ในสามัญญผล
ต่าง ๆ มาก ในอภิญญาต่าง ๆ มาก ในนิพพานอันเป็น
ประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็น
ปุถุปัญญา.

หาสปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าหาสปัญญา2 เพราะ
อรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความ
พอใจมาก มีความยินดีมาก มีความปราโมทย์มาก
บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า


1. ขุ. ป. 31/ข้อ 666. 2. ขุ. ป. 31/ข้อ 674.

มีความร่าเริงมาก ฯลฯ มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญ
อินทรียสังวรให้บริบูรณ์ เพราะอรรถว่า มีความร่าเริง
มาก ฯลฯ มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญตนรู้จัก
ประมาณในโภชนะ เพราะอรรถว่า มีความร่าเริงมาก ฯลฯ
มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญชาคริยานุโยค เพราะ
อรรถว่า มีความร่าเริงมาก ฯ ล ฯ มีความปราโมทย์มาก
บำเพ็ญศีลขันธ์ ฯ ล ฯ สมาธิขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์ ฯ ล ฯ ย่อมตรัสรู้ตลอด. บำเพ็ญวิหาร-
สมาบัติทั้งหลายได้ ย่อมตรัสรู้ตลอดอริยสัจ 4 ย่อม
เจริญสติปัฏฐาน 4 ย่อมเจริญสัมมัปปธาน 4 ย่อม
เจริญอิทธิบาท 4 ย่อมเจริญอินทรีย์ 5 ย่อมเจริญพละ
5 ย่อมเจริญโพชฌงค์ 7 ย่อมเจริญอริยมรรค ฯ ล ฯ
ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมทำให้แจ้งได้ซึ่ง
สามัญญผล. ชื่อว่าหาสปัญญา เพราะอรรถว่า มีความ
ร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดีมาก มีความ
ปราโมทย์มาก ย่อมตรัสรู้แจ้งซึ่งอภิญญา, ชื่อว่าหาส-
ปัญญา เพราะอรรถว่า มีความร่าเริงมาก มีความพอใจ
มาก มีความยินดีมา มีความปราโมทย์มาก ย่อมทำให้
แจ้งซึ่งพระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง.

ชวนปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าชวนปัญญา1 เพราะอรรถว่า
ปัญญาแล่นไปสู่รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคต
และปัจจุบัน ฯ ล ฯ มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดย

1. ขุ. ป. 31/ข้อ 675.

ความเป็นของไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์
ได้ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว แล่นไปสู่
เวทนา ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ฯ ล ฯ แล่นไปสู่วิญญาณทั้งหมด
โดยความไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ได้ไว
แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว. แล่นไปสู่จักษุ ฯ ล ฯ
ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยความเป็นของไม่เที่ยงได้ไว แล่นไปโดยความเป็น
ทุกข์ได้ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาได้ไว.

ชื่อว่าขวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง
พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป
เป็นทุกข์ เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา
เพราะอรรถว่า ไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในพระนิพพาน
เป็นที่ดับรูปได้ไว ฯ ล ฯ เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ
สังขาร ฯ ล ฯ วิญญาณ. ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถ
ว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า
จักษุ ฯลฯ ชรามรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ไม่เที่ยง เพราะอรรถว่า สิ้นไป เป็นทุกข์
เพราะอรรถว่า เป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะ
อรรถว่า ไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในพระนิพพานเป็น
ที่ดับชรามรณะได้ไว.

ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง
พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต
อนาคต และปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุง
แต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป
ดับไปเป็นธรรมดาแล้ว แล่นไปในพระนิพพานเป็นที่ดับ
รูปได้ไว. เวทนา ฯ ล ฯ สัญญา ฯ ล ฯ สังขาร ฯ ล ฯ
วิญญาณ. ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญา
เทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า จักษุ ฯลฯ
ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มี
ความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา
แล้วแล่นไปในพระนิพพาน อันเป็นที่ดับชราและมรณะ
ได้ไว.

ติกขปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่าติกขปัญญา1 เพราะ
อรรถว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไปซึ่งกามวิตก
ที่เกิดขึ้นแล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ไม่รับ
รองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ต่อไป ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯ ล ฯ
ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะ
อรรถว่า ไม่รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด
ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น


1. ขุ. ป. 31/ ข้อ 671.

แล้ว, ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ไม่รับรองไว้
ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป
ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ซึ่งโทสะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
ซึ่งโมหะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ซึ่งความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว
ฯ ล ฯ ซึ่งอุปนาหะที่เกิดขึ้นแล้ว ฯ ล ฯ ซึ่งมักขะ ปลาสะ
อิสสา มัจฉริยะ มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ
อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
อภิสังขารทั้งปวง ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง
ที่เกิดขึ้นแล้ว. ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญา
เป็นเหตุให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค 4
สามัญญผล 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 ณ อาสนะเดียว.

นิพเพธิกปัญญาเป็นไฉน ? ชื่อว่านิพเพธิกปัญญา1
เพราะอรรถว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วย
ความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความเบื่อหน่าย ความ
ระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขาร
ทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะที่ไม่เคยเบื่อ
หน่าย ที่ไม่เคยทำลายในสังขารทั้งปวง, ชื่อว่านิพเพธิก-
ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโทสะ
ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย ชื่อว่านิพเพธิก-
ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโมหะ
ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย, ชื่อว่านิพเพธิก-
ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯ ล ฯ


1. ขุ. ป. 31/ข้อ 677.

อุปนาหะ ฯ ล ฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวงที่ไม่
เคยเบื่อหน่าย ที่ไม่เคยทำลาย.

ท่านกล่าวคำว่า มหาพุทฺธิ มีปัญญามาก ไว้ เพราะพระเถระ
ประกอบพร้อมด้วยปัญญาอย่างมากมาย มีวิภาคตามที่กล่าวไว้แล้ว ด้วย
ประการฉะนี้.
อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความที่พระเถระนี้มีปัญญามาก แม้ด้วยอำนาจ
ธรรมตามลำดับบท และวิปัสสนา. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า 1: -
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเห็นแจ้งธรรมตามลำดับ
บทได้เพียงกึ่งเดือน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในการเห็น
แจ้งธรรมตามลำดับบทของพระสารีบุตรนั้น มีดังต่อ-
ไปนี้ :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องนี้พระสารีบุตร สงัด
จากกามทั้งหลาย ฯ ล ฯ เข้าปฐมฌานอยู่. ธรรมใน
ปฐมฌานคือวิตก ฯ ล ฯ จิตเตกัคคตา ผัสสะ เวทนา
สัญญา เจตนา จิต ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ
อุเปกขา มนสิการ. เป็นอันสารีบุตรกำหนดธรรมได้ตาม
ลำดับบท เป็นอันสารีบุตรรู้แจ้งแล้ว ทั้งที่เกิดขึ้น ตั้ง
อยู่ และถึงความดับ. เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า ด้วยประการนี้
เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี ที่มีแล้ว ย่อม
เสื่อมไป เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่
พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมนั้น ๆ มี


1. ม. อุ 14/ข้อ 159-165. อนุปทสูตร.

ใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่, ย่อมรู้ชัด
ว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และมีความ
เห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร
เข้าทุติยฌาน ฯ ล ฯ เพราะสงบวิตกและวิจาร. เข้าตติย-
ฌานอยู่. เข้าจตุตถฌานอยู่. เข้าอากาสานัญจายตนะอยู่.
เข้าวิญญาณัญจายตนะอยู่. เข้าอากิญจัญญายตนะอยู่.
สารีบุตรล่วงอากิญจัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. เธอเป็นผู้มี
สติออกจากสมาบัตินั้น ครั้นเธอมีสติออกจากสมาบัตินั้น
แล้ว พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวน
ไปแล้วว่า ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันว่าธรรมที่ไม่มีแก่เรา
ย่อมมี ที่มีแล้วย่อมเสื่อมไป. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย
อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้
แล้วในธรรมนั้น ๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดน
ได้แล้วอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้น
ไปอยู่ และมีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออก
นั้นให้มาก ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก สารีบุตร
ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยประการทั้งปวง
แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. เพราะเห็นด้วยปัญญา
อาสวะของเธอจึงเป็นอันสิ้นไป. เธอย่อมมีสติออกจาก

สมาบัตินั้น ครั้นเธอมีสติออกจากสมาบัตินั้นแล้ว ย่อม
พิจารณาเห็นธรรมที่ล่วงแล้ว ดับแล้ว แปรปรวนไปแล้ว
ว่า ด้วยประการนี้ เป็นอันว่า ธรรมที่ไม่มีแก่เรา ย่อมมี
ที่มีแล้ว ย่อมเสื่อมไป. เธอไม่ยินดีไม่ยินร้าย อันกิเลส
ไม่อาศัย ไม่พัวพัน พ้นวิเศษแล้ว พรากได้เเล้วในธรรม
นั้น ๆ มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้เเล้วอยู่
ย่อมรู้ชัดว่า ยังมีธรรมเครื่องสลัดออกยิ่งขึ้นไปอยู่ และ
มีความเห็นต่อไปว่า ผู้ที่ทำเครื่องสลัดออกนั้นให้มาก
ก็มีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชมภิกษุ
รูปใดว่า เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล,
เป็นผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ, เป็น
ผู้ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยปัญญา, เป็นผู้
ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ ภิกษุรูป
นั้น คือสารีบุตรนั่นเอง ที่ผู้กล่าวชอบ พึงกล่าวชม
ดังนี้.
อธิบายว่า พระเถระชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญามาก เพราะประกอบ
พร้อมด้วยความรู้อย่างกว้างขวาง เพราะบรรลุถึงความเป็นผู้มีปัญญามาก
กว้างขวาง ร่าเริง เร็วไว แหลมคม และเป็นเครื่องชำแรกกิเลส ด้วย
ประการฉะนี้. ส่วนความรู้ที่อนุโลมตามธรรม บัณฑิตพึงแสดงด้วย
สัมปสาทนียสูตรเถิด.1 จริงอยู่ พระสูตรนั้น การคาดหมายของพระเถระ
ท่านกล่าวไว้ว่าเป็นเช่นกับพระสัพพัญญุตญาณ.
บทว่า อชโฬ ชฬสมาโน ความว่า ไม่ใช่เป็นคนเขลา แม้โดย
1. ที. ปาฏิ. 11/ข้อ 73-93.

ประการทั้งปวง เพราะท่านเป็นผู้สูงสุดด้วยปัญญา ในบรรดาสาวกทั้งหลาย
แต่ทำเช่นกับคนเขลา คือทำที่เหมือนคนโง่ เพราะแสดงทำคนดุจคนที่ไม่
รู้อะไร เพราะท่านเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยยิ่งนัก เป็นผู้ดับ คือเป็น
ผู้เย็นสนิท เพราะไม่มีความทุกข์ร้อนคือกิเลส เที่ยวไปในกาลทุกเมื่อ คือ
อยู่เป็นนิตย์.
คาถาว่า ปริจิณฺโณ นี้ พระเถระเมื่อจะประกาศถึงกิจที่ตนได้ทำไว้
จึงได้กล่าวถึงคาถานั้น ก็มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
ก็คาถาว่า สมฺปาเทถปฺปมาเทน นี้ พระเถระก็กล่าวไว้ โดยมุ่งที่
ที่จะให้โอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายผู้พากันมาประชุม ในเวลาที่ตนจะปริ-
นิพพาน, ถึงคาถานั้น ก็มีเนื้อความดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสาริปุตตเถรคาถาที่ 2

3. อานันทเถรคาถา


ว่าด้วยความเป็นผู้ทรงธรรม


[397] บัณฑิต ไม่ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนที่ชอบ
ส่อเสียด มักโกรธ ตระหนี่ และผู้ปรารถนาให้ผู้อื่นพินาศ
เพราะการสมาคมกับคนชั่ว เป็นความลามก แต่บัณฑิต
ควรทำตนให้เป็นมิตรสหายกับคนผู้มีศรัทธา มีศีลน่ารัก
มีปัญญา และเป็นคนได้สดับเล่าเรียนมามาก เพราะการ
สมาคมกับคนดี ย่อมมีแต่ความเจริญอย่างเดียว เชิญดู
ร่างกายอันมีกระดูก 300 ท่อน ซึ่งมีเอ็นใหญ่น้อยผูกขึ้น
เป็นโครงตั้งไว้ อันบุญกรรมตบแต่งให้วิจิตร มีแผลทั่ว
ทุกแห่ง กระสับกระส่าย คนโง่เขลาพากันดำริเป็นอันมาก
ไม่มีความยั่งยืนตั้งมั่น พระอานนทเถระผู้โคดมโคตร เป็น
ผู้ได้สดับมามาก มีถ้อยคำไพเราะ เป็นผู้อุปัฏฐากพระ-
พุทธเจ้า ปลงภาระลงแล้ว บรรลุอรหัต สำเร็จการนอน
พระอานนทเถระสิ้นอาสวะแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่อง
เกาะเกี่ยวแล้ว ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้องแล้ว ดับสนิท
ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา ทรงไว้แต่ร่างกายอันมีในที่สุด
ธรรมทั้งหลายของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง
พระอาทิตย์ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด บุคคลนั้นคือ พระ-
อานนทเถระผู้โคตมะ ชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ในมรรคเป็นทาง
ไปสู่นิพพาน พระอานนทเถระได้เรียนธรรมจากพระ-